Page 79 - kpiebook62016
P. 79

62







                                             เส้นทางสู่ประชาธิปไตยของอินโดนีเซีย


                       เกริ่นน า

                              อาจกล่าวได้ว่า ปัจจุบัน อินโดนีเซียเป็นประเทศต้นแบบในการเปลี่ยนวิกฤติเศรษฐกิจในปี

                       ค.ศ. 1997 ให้เป็นโอกาสทองของการปฎิรูปการเมือง และเป็นก้าวส าคัญของการเปลี่ยนผ่านไปสู่

                       ประชาธิปไตย ในอดีตยาวนานกว่า 7 ทศวรรษ อินโดนีเซียอยู่ภายใต้การปกครองแบบอ านาจนิยม
                       ภายใต้การน าของประธานาธิบดีซูการ์โน (Sukarno) ในยุคที่เรียกว่า “ระบอบประชาธิปไตยแบบชี้น า”

                       (Guided Democracy) และประธานาธิบดีซูฮาร์โต (Suharto) หรือที่เรียกว่ายุค “ระเบียบใหม่” (New

                                                                                                           176
                       Order) ตามล าดับ ประธานาธิบดีซูการ์โน เป็นผู้น าประเทศต่อสู้จนได้รับเอกราชจากเนเธอแลนด์
                       ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ค.ศ. 1950 และแทนที่ด้วยรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1945 ที่ให้อ านาจ
                                                                         177
                       ประธานาธิบดีแต่งตั้งสมาชิกส่วนใหญ่ของฝ่ายนิติบัญญัติ  ส่วนบทบาทของประธานาธิบดีซูฮาร์โต
                       โดดเด่นขึ้นหลังการปราบกบฏในกรุงจาการ์ตา ในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1965 ท าให้เริ่มมีฐาน

                       สนับสนุนท้าทายอ านาจของประธานาธิบดีซูการ์โน  และเมื่อวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1966 กองทัพ
                                                                   178
                       ภายใต้พลโทซูฮาร์โต กดดันให้ประธานาธิบดีซูการ์โน ลงนามในค าสั่งมอบอ านาจประธานาธิบดีให้แก่

                                   179
                       พลโทซูฮาร์โต  การเข้ายึดอ านาจรัฐของประธานาธิบดีซูฮาร์โตเสร็จสมบูรณ์ เมื่อสมัชชาที่ปรึกษา
                       ประชาชน มีมติเมื่อวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 1968 แต่งตั้งให้พลเอกซูฮาร์โตเป็นประธานาธิบดีอย่างเป็น

                             180
                       ทางการ

                              ประธานาธิบดีซูฮาร์โตปกครองประเทศอย่างต่อเนื่องกว่า 3  ทศวรรษ และยังคงสืบทอด

                       อ านาจต่อไปท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจ ค.ศ. 1997  ที่ก าลังถาโถม น ามาสู่การประท้วงขับไล่และการ
                       จลาจลครั้งใหญ่ กระทั่งในวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1998 ประธานาธิบดีซูฮาร์โต ได้ประกาศลาออก

                       และส่งมอบต าแหน่งให้รองประธานาธิบดี บี.เจ. ฮาบิบี (B.J. Habibie) ผู้เข้ามาเปิดเสรีภาพทางการ




                                                                                            rd
                       176  Michael R.J. Vatikiotis, Indonesian Politics under Suharto: the Rise and Fall of the New Order, 3  ed. (London:
                       Routledge, 1998), p. 3.
                       177  Harold Crouch, ‚Indonesia,‛ in Zakaria Ahmad and Harold Crouch (eds.), Military-Civilian Relations in South-East Asia
                       (Singapore: Oxford University Press, 1985), p. 56.
                       178  John Roosa, ‚Suharto (June 8, 1921 – January 27, 2008),‛ Indonesia no. 85 (April 2008): 139.
                       179
                         Michael R.J. Vatikiotis, op. cit., p. 22.
                       180  Ibid., p. 26.
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84