Page 80 - kpiebook62016
P. 80
63
เมืองจนน าไปสู่การเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 1998 อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้ง
ประธานาธิบดีครั้งนี้ยังคงเป็นการเลือกตั้งโดยอ้อมผ่านสมัชชาที่ปรึกษาประชาชน (People's
Consultative Assembly – MPR) ซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ กระทั่งใน ค.ศ. 2002 จึงได้มีการแก้ไข
รัฐธรรมนูญเพื่อให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง บทบัญญัติในการแก้ไขนี้มีผลบังคับใช้ครั้งแรก
181
ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีใน ค.ศ. 2004 นอกจากนี้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญใน ค.ศ. 2002 ยังได้
เปลี่ยนแปลงรูปแบบของฝ่ายนิติบัญญัติจากระบบสภาเดียวที่มีการแต่งตั้งสมาชิกโดยรัฐบาลมีส่วน
ร่วมด้วย มาสู่ระบบสภาคู่ที่ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร (People’s Representative Council –
DPR) ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด และสภาผู้แทนภูมิภาค (Regional Representative Council –
182
DPD) ซึ่งเป็นผู้แทนที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองซึ่งได้รับการเลือกตั้งโดยใช้จังหวัด (province) เป็นเขต
183
เลือกตั้ง ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้แสดงให้เห็นถึงเส้นทางสู่ประชาธิปไตยของอินโดนีเซียที่ยังคง
อยู่ในช่วงเวลาของการแสวงหาเสถียรภาพจากความสมดุลของการวางโครงสร้างการปกครอง อย่างไร
ก็ตาม เป็นที่เด่นชัดว่าจุดเริ่มต้นของการพัฒนาสู่ประชาธิปไตยของอินโดนีเซียเป็นตัวอย่างของการ
ก้าวเข้าสู่ประชาธิปไตยโดยประชาสังคม และกลุ่มผู้น าพลเรือนที่ได้รับแรงสนับสนุนจากบรรยากาศ
ความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนที่ต้องการประชาธิปไตย
181 Harold Crouch, Political Reform in Indonesia after Soeharto (Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, 2010), p.
35.
182 Denny Indrayana, Indonesian Constitutional Reform 1999-2002: An Evaluation of Constitution-Making in Transition
(Jakarta: KOMPAS Book Publishing, 2008), pp. 232-233.
183 Ibid., p. 201.