Page 247 - kpiebook65020
P. 247

208
                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                    โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”

                       ประเด็นเรื่องแนวคิดพื้นฐานว่าด้วยนิติเศรษฐศาสตร์ (Law  and  Economics)  จากผลการศึกษา
               พบว่า นิติเศรษฐศาสตร์เป็นการผสมผสานแนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์มาใช้อธิบายและวิเคราะห์ระบบ

               กฎหมาย โดยเน้นอธิบายถึงพฤติกรรมของมนุษย์และการจัดสรรทรัพยากรในสังคม เพื่อให้รัฐคัดเลือกวิธีการที่
                                                             1
               มีประสิทธิภาพมากที่สุดในทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจ ากัด   อันจะน าไปสู่การตอบสนองวัตถุประสงค์อย่างหนึ่ง
               อย่างใดของรัฐ ซึ่งในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์นั้น กฎหมายเป็นเครื่องมือที่เข้ามาขับเคลื่อนกลไกทั้งหมดของ
               ระบบเศรษฐกิจ ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงแม้เพียงเล็กน้อยในตัวบทกฎหมายก็จะส่งผลต่อกลไกของระบบ

               เศรษฐกิจด้วยเช่นกัน

                       ประเด็นเรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์และทางสังคม พบว่าการวิเคราะห์ผลกระทบ
               ทางเศรษฐศาสตร์นั้น เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ที่สามารถน ามาใช้ในด าเนินการในขั้นตอนการระบุและ
               ประเมินเพื่อเปรียบเทียบทางเลือกทางนโยบายและประกอบการตัดสินใจคัดเลือกนโยบายเพื่อแก้ปัญหาจะ
               ประกอบไปด้วยหลายแนวทางด้วยกัน ซึ่งมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่ารัฐต้องการที่ค านวณ

               ต้นทุนและผลประโยชน์ตอบแทนในรูปแบบใด แต่ท้ายที่สุดแล้วแนวทางที่รัฐใช้ประกอบการตัดสินใจเลือก
                                                                                                 2
               นโยบาย จะต้องมีความสอดคล้องกับการแก้ปัญหาและไม่สร้างภาระให้กับประชาชนมากเกินไป  ส่วนการ
               วิเคราะห์หรือการประเมินผลกระทบทางสังคม (SIA) เป็นการศึกษาถึงผลกระทบทางสังคมของการด าเนินการ

               ตามโครงการต่าง ๆ โดย SIA จะคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและคุณภาพชีวิตที่จะเกิดขึ้นไม่ว่าจะใน
               ทางบวกหรือทางลบ พร้อมทั้งน าเสนอมาตรการในการลดผลกระทบทางสังคมในแง่ลบ เพื่อประกอบการ
               พิจารณาทางเลือกและปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสังคม และให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมให้มากที่สุด เพื่อให้
                                                                                     3
               ตัดสินใจได้ว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจะเป็นที่ยอมรับได้ และคุ้มค่ากับประโยชน์ที่จะได้รับ
                       ประเด็นเรื่องหลักเกณฑ์ตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายตามกฎหมายการจัดท าร่าง

               กฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย จากผลการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การ
               จัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ถูกตราขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับ
               หลักเกณฑ์ที่ก าหนดไว้ในมาตรา 77 และมาตรา 258 ค. ด้านกฎหมาย (1) และ (3) ของรัฐธรรมนูญแห่งราช
               อาณาจักไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อก าหนดหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมาย การตรวจสอบความจ าเป็นใน

               การตรากฎหมาย อันจะท าให้การตรากฎหมายเป็นไปโดยละเอียดรอบคอบ ไม่สร้างภาระแก่ประชาชนเกิน
               ความจ าเป็น โดยเมื่อมีกรณีจ าเป็นต้องเสนอให้มีการตรากฎหมาย ให้หน่วยงานของรัฐที่เสนอร่างกฎหมาย
               จะต้องแสดงเหตุผลความจ าเป็นในการตรากฎหมายและต้องวิเคราะห์โดยมีข้อมูลและเอกสารหลักฐาน
               ประกอบชัดเจนว่า 1) ไม่เป็นการสร้างภาระแก่ประชาชนเกินความจ าเป็น 2) คุ้มค่ากับภาระที่เกิดขึ้นแก่รัฐและ

               ประชาชน และ 3) ไม่สามารถใช้มาตรการหรือวิธีการอื่นใดนอกจากการตราเป็นกฎหมาย โดย “กฎหมาย” ที่

               1
                  ชยันต์ ตันติวัสดาการ,  เศรษฐศาสตร์จุลภาค: ทฤษฎีและการประยุกต์, (กรุงเทพ: ส านักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
               2552), น.11.
               2   ใจใส วงส์พิเชษฐ,  “Standard  Cost  Model:  แบบการค านวณภาระในการปฏิบัติตามกฎหมาย”,  กองพัฒนากฎหมาย
               ส านักงานกฤษฎีกา,  (2562) สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2563,  จาก https  ://  lawreform  .go.th/uploads/files/
               1520327367-oz7k5-aldar.pdf?fbclid=IwAR23WhntMAtCjD6dgNlZUn8RQXUkcdg      EQ1NAZdOARXX_7_
               BSLMUZaLrZLdg,
               3
                 สุวรรษา ทองหยู, “การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม (Social Impact Assessment),” (26 ธันวาคม 2562). สืบค้นเมื่อวันที่ 8
               กันยายน 2563. จาก https://social.nia.or.th/2019/article0002/
   242   243   244   245   246   247   248   249   250   251   252