Page 246 - kpiebook65020
P. 246

207
                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                    โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”

                                                         บทที่ 5


                                                        บทสรุป

                       การวิเคราะห์ผลกระทบของการตรากฎหมายตามหลักการของมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่ง
               ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผล

               สัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ถือเป็นเรื่องใหม่ส าหรับประเทศไทยซึ่งยังขาดองค์ความรู้และประสบการณ์ใน
               เรื่องดังกล่าว ส านักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า จึงได้มอบหมายให้ส านักงานศูนย์วิจัยและ
               ให้ค าปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดท าโครงการ “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความ

               จ าเป็นในการตรากฎหมาย”  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับการด าเนินการตรวจสอบความ
               จ าเป็นและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย และน ามาจัดท าเป็นกรณีศึกษาและสื่อการเรียนการ
               สอนตามหลักสูตรวุฒิบัตรการวิเคราะห์การตรากฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย และพัฒนาเป็น
               คู่มือส าหรับผู้ที่ต้องการจัดท าหรือปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย

                       เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการศึกษาวิจัยดังกล่าว คณะที่ปรึกษาจึงได้ด าเนินการ

               ศึกษาวิจัยเรื่องดังกล่าวใน 3 ส่วน ได้แก่ (1) ส ารวจองค์ความรู้และทบทวนบทเรียนการด าเนินการตรวจสอบ
               ความจ าเป็นและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายของประเทศต่าง ๆ (2) น าองค์ความรู้ที่ได้จาก
               ส่วนที่ (1) มาจัดท าเป็นกรณีศึกษาและสื่อการเรียนการสอนโดยทดลองใช้ในหลักสูตรวุฒิบัตรการวิเคราะห์การ
               ตรากฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายของส านักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบัน

               พระปกเกล้า (3)  น าองค์ความรู้ที่ได้และผลการศึกษาจากการทดลองใช้กรณีศึกษาและสื่อการเรียนการสอน
               ดังกล่าวข้างต้นมาพัฒนาเป็นคู่มือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย

                       การศึกษาวิจัยส่วนแรกเป็นการส ารวจองค์ความรู้และทบทวนบทเรียนการด าเนินการตรวจสอบความ
               จ าเป็นและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายนั้น คณะที่ปรึกษาได้ค้นคว้า ศึกษา และทบทวน
               วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบความจ าเป็นและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายใน

               ประเด็นต่าง ๆ ที่ส าคัญ ได้แก่

                       ประเด็นเรื่องข้อความคิดพื้นว่าด้วยการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายและการวิเคราะห์
               ผลกระทบร่างกฎหมาย จากผลการศึกษาพบว่า การวิเคราะห์ผลกระทบในการตรากฎหมาย (Regulatory
               Impact  Assessment:  RIA) คือ กระบวนการวิเคราะห์ถึงประสิทธิภาพและความคุ้มทุนในการออกกฎ โดย
               เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินใจอย่างเป็นระบบถึงประสิทธิภาพและความจ าเป็นในการออกกฎ โดยมี

               ขั้นตอนพื้นฐานที่นานาประเทศใช้ร่วมกันจ านวน 6 ขั้นตอนส าคัญ กล่าวคือ (1) การก าหนดปัญหา (2) ก าหนด
               วัตถุประสงค์ (3) ก าหนดทางเลือกนโยบาย (4) ประเมินและวิเคราะห์ผลกระทบแต่ละทางเลือก (5)
               เปรียบเทียบทางเลือก และ (6) ก าหนดแนวทางในการประเมินตรวจสอบ โดยการด าเนินการดังกล่าวจะท าให้

               กฎหมายที่ผ่านกระบวนการดังกล่าวแล้วเป็นที่ยอมรับจากประชาชน เพราะกฎหมายดังกล่าวได้ผ่านการ
               วิเคราะห์อย่างรอบด้าน และได้มีการซักถาม ชี้แจง ถกเถียง ตลอดจนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูล
               จากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว
   241   242   243   244   245   246   247   248   249   250   251