Page 249 - kpiebook65020
P. 249

210
                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                    โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”

               การรายงานเหตุผลความจ าเป็นที่ต้องตรากฎหมายและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย มีวัตถุประสงค์
               เพื่อให้หน่วยงานได้ตรวจสอบและชี้แจงเหตุผลว่าเหตุใดการตรากฎหมายจึงมีความจ าเป็นและเป็นวิธีการ

               แทรกแซงของรัฐที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ปัญหา และวิเคราะห์และคาดการณ์ว่ามาตรการที่จะก าหนดในร่าง
               กฎหมายนั้น จะท าให้เกิดผลกระทบอย่างไร ต่อผู้เกี่ยวข้องกลุ่มใดบ้าง และ ส่วนที่สอง เป็นการรายงานการ
               ตรวจสอบเนื้อหาของร่างกฎหมาย เป็นการตรวจสอบเนื้อหาของร่างกฎหมาย  โดยจะพิจารณาเหตุผลความ
               จ าเป็นในการใช้ (1) ระบบอนุญาต (2) ระบบคณะกรรมการ (3) การก าหนดโทษอาญา (4) การก าหนดดุลพินิจ

               ในการออกค าสั่งทางปกครองหรือด าเนินกิจการทางปกครอง โดยหน่วยงานที่ต้องการจะเสนอให้ใช้กลไก
               ข้างต้นในการแก้ปัญหาตามที่ระบุในข้อ 1) ต้องพิจารณาไตร่ตรองถึงเหตุผลความจ าเป็นในการใช้มาตรการ
               เหล่านี้ให้ถี่ถ้วนก่อน ว่าจะสามารถท าให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ตั้งไว้ได้จริงหรือไม่

                       ในการศึกษาวิจัยส่วนที่สองนั้นเป็นการจัดท ากรณีศึกษา เพื่อน าไปใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนส าหรับ
               หลักสูตรวุฒิบัตรการวิเคราะห์การตรากฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายของ สถาบัน

               พระปกเกล้า ทั้งนี้ คณะที่ปรึกษาได้รับการอนุเคราะห์ข้อมูลในส่วนนี้จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ
               ไทย (TDRI)  ซึ่งได้ออกแบบข้อเท็จจริง ประเด็นปัญหา และการรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ ในประเด็น
               “การปล่อยเช่าระยะสั้นผ่านแพลตฟอร์ม (short-term rental)” และได้น าไปใช้กับการอบรมเชิงปฏิบัติการ

               (Workshop) ในหลักสูตรวุฒิบัตรการวิเคราะห์การตรากฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย ของ
                                                             7
               ส านักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า)  โดยกรณีศึกษาดังกล่าวนี้ เป็นการเสนอสภาพปัญหา
               เกี่ยวกับการเช่าที่พักระยะสั้นผ่านแพลตฟอร์ม (short-term accommodation platforms) เช่น Airbnb ใน
               ประเทศไทย แนวทางการการวิเคราะห์ทางเลือกในการจัดการและควบคุมปัญหาดังกล่าวมิให้เกิดขึ้นและสร้าง
               ผลกระทบต่อสังคมโดยรวม และขั้นตอนในการพิจารณาเพื่อเลือกแนวทางที่เหมาะสมในการก ากับดูแลการ

               ปล่อยเช่าระยะสั้นผ่านแพลตฟอร์ม เพื่อเป็นตัวอย่างในการด าเนินการวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมาย
               ให้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม

                       ส่วนสุดท้ายเป็นการจัดท าคู่มือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายเพื่อใช้เป็นแนว
               ปฏิบัติและข้อแนะน าส าหรับผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการนิติบัญญัติ ส่วนราชการ และภาคประชาชนที่ต้องการ

               จัดท าหรือปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย และสามารถน าไปใช้ในหลักสูตรวุฒิบัตรการวิเคราะห์การตรากฎหมายและ
               การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายของส านักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า โดยในคู่มือ
               ดังกล่าว มีเนื้อหาที่ส าคัญ 3 ส่วน กล่าวคือ ส่วนที่ 1 แนวคิดและทฤษฎีในการตรวจสอบความจ าเป็นในการ
               ตรากฎหมาย ส่วนที่ 2 หลักเกณฑ์ในการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย และส่วนที่ 3 กรณีศึกษา

               และตัวอย่างการจัดท ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย (การจัดท า Checklist)

                      การด าเนินการศึกษาวิจัยตามวัตถุประสงค์ของโครงการศึกษาวิจัย เรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือ
               ส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย” ของคณะผู้วิจัย จะท าให้ส านักนวัตกรรมเพื่อ
               ประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า มีองค์ความรู้ในเรื่องการตรวจสอบความจ าเป็นและวิเคราะห์ผลกระทบที่
               อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายที่ทันสมัย ครบถ้วน รอบด้าน และง่ายต่อการเข้าถึง มีกรณีศึกษาและสื่อการเรียนการ


               7
                  สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย,  เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop)  หลักสูตรวุฒิบัตรการ
               วิเคราะห์การตรากฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย ส านักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า,
               (2563).
   244   245   246   247   248   249   250   251   252   253   254