Page 188 - kpiebook65064
P. 188

138          โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ
                           เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา




                              2. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

                                สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นผู้มีอำนาจในการอนุญาต

                   ทะเบียนตำรับและการยกเลิกทะเบียนตำรับยา คือ พนักงานเจ้าหน้าที่ในทางปฏิบัติ คือ เลขาธิการ
                   คณะกรรมการอาหารและยา (มาตรา 79 และ 83 ของ พ.ร.บ.ยา) เลขาธิการคณะกรรมการ

                   อาหารและยา อาจมอบอำนาจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาอนุญาตแทนได้

                                โดยเจ้าพนักงานผู้ทำหน้าที่ขึ้นทะเบียนตำรับยาจะได้รับคำแนะนำจาก
                   คณะกรรมการยาแต่ไม่มีผลผูกผันต่อการตัดสินใจดังที่กล่าวไปตอนต้น

                   ตารางที่ 5.5 อำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

                          ผู้มีหน้าที่โดยตรง                       สรุปอำนาจตามกฎหมาย

                    เลขาธิการคณะกรรมการอาหาร มาตรา 79 มาตราและ 83 ของ พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510
                    และยาหรือพนักงานเจ้าหน้าที่  
มาตรา 79 ยาทุกประเภทที่จะนำเข้าและผลิตในประเทศต้องได้รับการ
                    ที่ได้รับมอบอำนาจ           ขึ้นทะเบียนตำรับยา
                                                มาตรา 83 ยาที่ห้ามการขึ้นทะเบียน

                   ที่มา: พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510

                                ในเชิงโครงสร้าง หน่วยงานผู้ทำหน้าที่พิจารณาขึ้นทะเบียนและทบทวนทะเบียน
                   ตำรับยา คือ สำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่มีอำนาจหน้าที่ตามข้อ 14 ของ

                   กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.
                   2552 ในการควบคุม กำกับ ดูแลยา สถานที่และกระบวนการผลิต นำเข้า ขายยา การวิจัยยาทาง

                   คลินิก และการโฆษณายาให้ได้มาตรฐานและเป็นไปตามกฎหมาย รวมถึงศึกษา วิจัย และจัดทำ
                   มาตรฐานด้านยา สถานที่และกระบวนการผลิต นำเข้า ขายยา การวิจัยทางคลินิกและการโฆษณา
                   ยา โดยมีกลุ่มกำกับดูแลก่อนออกสู่ตลาดทำหน้าที่ด้านการขึ้นทะเบียนและทบทวนทะเบียนตำรับยา

                   เป็นการเฉพาะ
                                7
                              3.
ผู้เชี่ยวชาญในการอ่านตำรับยา

                                หมายถึง ผู้เชี่ยวชาญที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาคัดเลือกให้มาเป็น
                   ผู้เชี่ยวชาญในการอ่านทะเบียนตำรับยาเพื่อพิจารณาสูตร วิธีการผลิต และวิธีการควบคุมคุณภาพ

                   ยา ฯลฯ ว่ายาที่นำมาขึ้นทะเบียนมีความเหมาะสมหรือไม่ ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็น
                   ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกที่เป็นทั้งบุคลากรตามสถานศึกษาและสถานพยาบาล

                              4. ผู้ยื่นคำร้องขอขึ้นทะเบียนตำรับยา

                                หมายถึง บริษัทเอกชนผู้ยื่นคำร้องขอขึ้นทะเบียนตำรับยาที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย

                   และกฎระเบียบที่ อย. เป็นผู้กำหนด บริษัทเอกชนเหล่านี้จะเป็นผู้ขอยื่นทะเบียนตำรับยาทั้ง


                          7  โปรดดูอำนาจหน้าที่ของอย.เพิ่มเติมในภาคผนวก ข. โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการอาหาร
                   และยา (อย.) ของประเทศไทย



                   บทที่ 5
                   สถาบันพระปกเกล้า
   183   184   185   186   187   188   189   190   191   192   193