Page 233 - kpiebook65064
P. 233
โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ 183
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
- นโยบายแห่งชาติด้านยา พ.ศ. 2554 และยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยา
แห่งชาติ พ.ศ. 2554-2559
นโยบายแห่งชาติด้านยา พ.ศ. 2554 ให้ความสำคัญต่อการป้องกันการส่งเสริม
การขายที่ขาดจริยธรรม โดยยุทธศาสตร์ด้านที่ 2 การใช้ยาอย่างสมเหตุผล กำหนดให้ยุทธศาสตร์
ย่อยที่ 7 การส่งเสริมจริยธรรมผู้สั่งใช้ยาและยุติการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม กำหนดให้
1) พัฒนากฎเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายตามแนวทางขององค์การอนามัยโลกเป็น
เกณฑ์กลางของประเทศ และปรับปรุงให้ทันสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง 2) ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วน
นำเกณฑ์จริยธรรมไปประยุกต์ใช้และขยายเพิ่มเติม 3) ควบคุมกำกับการส่งเสริมการขายที่ขาด
จริยธรรม เพื่อให้เกิดการใช้ยาที่เหมาะสม ลดความสูญเสียทางสุขภาพและเศรษฐกิจของผู้รับ
บริการ 4) จัดตั้งองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับผิดชอบจัดทำกลไกติดตามตรวจสอบ รวบรวม
และรายงานสถานการณ์การส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรมในระดับประเทศ และ
5) ประสานผลักดันให้มีการขับเคลื่อนให้มีจริยธรรมในกลุ่มผู้สั่งใช้ยา 31
- พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510
พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 มีรายละเอียดและบทลงโทษในการห้ามการ
โฆษณาเกี่ยวกับยาบางลักษณะในหมวด 11 กล่าวคือ พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 กำกับดูแล
เฉพาะสื่อโฆษณาที่บริษัทยาต้องขออนุญาตก่อนจะโฆษณาให้กับแพทย์และบุคลากรด้าน
สาธารณสุข แต่ยังไม่มีส่วนใดที่ระบุถึงการควบคุมการส่งเสริมการขายทำให้บริษัทยาสามารถให้
ข้อมูลแก่แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ผ่าน “ผู้แทนยา” โดยไม่มีการกับดูแลทางกฎหมาย
32
นอกจากเกณฑ์ทางจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพที่กำกับบริษัทยาและผู้แทนยา แพทย์
เภสัชกร สถานพยาบาล สถานศึกษา และผู้บริหาร
31 สำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2554). นโยบายแห่งชาติด้านยาพ.ศ.2554 และแผนยุทธศาสตร์
การพัฒนาระบบยาแห่งชาติพ.ศ.2554-2559. น. 11.
32 สุนทรี ท. ชัยสัมฤทธิโชค. (มิถุนายน 2552). “ผลประโยชน์ทับซ้อน” ประชาคมโลกเดินหน้าเร่งยุติขบวนการส่ง
เสริมการขายที่ขาดจริยธรรม. ยาวิพากษ์, 1, 3-10, p. 4.
บทที่ 5
สถาบันพระปกเกล้า