Page 229 - kpiebook65064
P. 229
โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ 179
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
เข้าสู่บัญชียาสถานพยาบาลเป็นอย่างมาก โดยทั่วไปแล้วคณะกรรมการ PTC มีการดำเนินผ่าน
อนุกรรมการผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา และมักยึดความเห็นหรือมติของคณะอนุกรรมการเป็นที่สุด
อย่างไรก็ตาม หากคณะกรรมการมีความเห็นแย้งกับอนุกรรมการย่อมสามารถมีมติเป็นไปในทาง
อื่นได้
- บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด
โดยคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดต้องปฏิบัติหน้าที่ตาม 1) ระเบียบ
กระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา พ.ศ. 2543 2) ระเบียบสำนัก
นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุเป็นกรอบที่กำหนดให้ส่วนราชการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.
2535 ด้านการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ และ 3) แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพระบบบริหาร
เวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุขและนโยบายการพัฒนาประสิทธิภาพระบบบริหารเวชภัณฑ์
ตามแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพระบบบริหารเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข ปี 2542
ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา พ.ศ.
2543 ข้อ 5 การบริหารยา (ก) ระบุว่าหน่วยราชการที่มีคณะกรรมการเภสัชกรรมและ
การบำบัด ให้คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดเป็นผู้ดำเนินการในการจัดซื้อยา
นอกจากนี้บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการฯ ต้องเป็นไปตามคู่มือบริหาร
เวชภัณฑ์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2530 ได้ระบุว่าการบริหารเวชภัณฑ์ใน
โรงพยาบาลต้องมีการดำเนินงานในรูปของคณะกรรมการ โดยให้ชื่อว่า “คณะกรรมการเภสัชกรรม
และการบำบัด” ซึ่งมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อวางมาตรการและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับบริหารเวชภัณฑ์ของสถาน
บริการสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด โดยเน้นการ
สนับสนุนการใช้ยาตามบัญชียาหลักแห่งชาติ
2. ประสานงานระหว่างผู้ใช้ยา (ฝ่ายบำบัด) และผู้จัดหายา (ฝ่ายเภสัชกรรม)
เกี่ยวกับการใช้ยาในโรงพยาบาล
3. ควบคุมกำกับการบริหารเวชภัณฑ์ทั้งระบบเพื่อลดการสูญเสียยาโดยเปล่า
ประโยชน์และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ยา
4. ประเมินผลและหาแนวทางการแก้ปัญหาอุปสรรคในการบริหารเวชภัณฑ์
การมีคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดขึ้นมาทำหน้าที่ดังกล่าว เพื่อช่วย
แบ่งเบาภาระและกระจายอำนาจการตัดสินใจของผู้อำนวยการสถานพยาบาลที่เป็นผู้บังคับบัญชา
สูงสุดของฝ่ายบริหารในสถานพยาบาล ซึ่งมีอำนาจในการสั่งการแก่แพทย์ เภสัชกร หรือบุคลากร
ทางการแพทย์ผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการคัดเลือกยาเข้าสู่สถานพยาบาล ดังนั้น
การบริหารงานในรูปของคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการคัดเลือกยาและ
การจัดซื้อมาเข้ามามีบทบาทในคณะกรรมการ ช่วยลดการใช้เส้นสายลงและมีการถ่วงดุลอำนาจ
ไม่ให้การจัดซื้อยาถูกผูกขาดให้กับฝ่ายผู้มีอำนาจในสถานพยาบาลและการนำยาเข้ามาใช้ใน
บทที่ 5
สถาบันพระปกเกล้า