Page 245 - kpiebook65064
P. 245
การศึกษาความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบอภิบาลยาของประเทศไทย คณะผู้วิจัย
ได้สำรวจความคิดเห็นจากการใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึกต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ระบบอภิบาลยาของไทยในปัจจุบัน
(2) สำรวจความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อปัจจัยสำคัญในการพัฒนาธรรมาภิบาลของระบบ
1
อภิบาลยา และ (3) เพื่อวิเคราะห์ประเด็นความเสี่ยงที่มีต่อธรรมาภิบาลของระบบอภิบาลยาใน
ประเทศไทยเพื่อนำผลการวิเคราะห์ดังกล่าวไปประเมินและให้ข้อเสนอแนะปรับปรุงกระบวนการ
ทำงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ เพื่อสร้างระบบธรรมาภิบาลยาที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยใน
อนาคต
อย่างไรก็ดี ในสำรวจความคิดเห็นจากการใช้แบบสอบถามที่การตอบคำถามที่ใช้ใน
แบบสอบถามต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ ทำให้ผู้ตอบคำถามต้องเป็นผู้ที่มี
ความรู้ ความเข้าใจ และมีประสบการณ์เพียงพอที่จะสามารถให้ความคิดเห็นและให้คะแนน
เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นหรือระดับความพึงพอใจได้ ดังนั้น ในการเก็บข้อมูลแบบสอบถาม
คณะผู้วิจัยต้องเลือกส่งแบบสอบถามให้กับหน่วยงานหรือผู้ที่มีความเกี่ยวข้องเท่านั้น ซึ่งเป็น
ข้อจำกัดสำคัญประการแรกในเรื่องของจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม และเมื่อได้รับแบบสอบถามกลับ
คืนมาแล้ว ได้มีการตรวจสอบความถูกต้องของการตอบคำถามที่ได้รับกลับมาอีกครั้ง (Clean Data)
เพื่อป้องกันความผิดพลาดจากการตอบคำถามที่ไม่สมเหตุสมผล หรือตอบคำถามไม่ครบถ้วน
ด้วยเหตุนี้ จำนวนแบบสอบถามที่ได้รับจากผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจ และมีประสบการณ์ที่ได้รับการ
ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วน จึงมีจำนวนน้อย ดังนั้น เพื่อยืนยันและตรวจสอบผลสรุปที่ได้
จากแบบสอบถาม คณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกต่อผู้มีส่วนได้
ส่วนเสีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่สามารถให้ความเห็นต่อระบบอภิบาลยา
อีกครั้ง
1 คำว่า “ธรรมาภิบาลของระบบอภิบาลยา” หมายถึง ระบบการบริหารจัดการยาที่มีธรรมาภิบาล โดยหลักธรรมาภิบาล
ประกอบไปด้วย หลักนิติรัฐ (Rule of Law) ความโปร่งใส (Transparency) ความรับผิดรับชอบ (Accountability) การมีส่วนร่วม
(Participation) และประสิทธิภาพ (Efficiency)