Page 246 - kpiebook65064
P. 246
196 โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทางคณะผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาเชิงลึก โดยการสัมภาษณ์บุคคล
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของระบบอภิบาลยาในประเทศไทย ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการของ
ระบบอภิบาลยา 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การขึ้นทะเบียนตำรับยา (Registration)
ขั้นตอนที่ 2 การคัดเลือกยาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ (Selection) และขั้นตอนที่ 3 การจัด
ซื้อยาเข้าสู่สถานพยาบาล (Procurement) เพื่อทราบถึงปัญหาและสถานการณ์ที่เป็นอยู่ปัจจุบัน
ในเชิงลึก มาใช้ร่วมกับผลจากการสำรวจความคิดเห็นข้างต้น และสรุปเป็นข้อเสนอแนะในการ
พัฒนาระบบธรรมาภิบาลยาของไทยต่อไปในอนาคต
ผลจากการวิเคราะห์แบบสอบถามผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผลการสัมภาษณ์เชิงลึกในแต่ละ
กระบวนการของระบบอภิบาลยา ได้แก่ การขึ้นทะเบียนตำรับยา การคัดเลือกยาเข้าสู่บัญชียาหลัก
แห่งชาติ และการจัดซื้อยาเข้าสู่สถานพยาบาล พบว่า ในภาพรวมของการวิเคราะห์ระดับความมี
ธรรมาภิบาลในแต่ละด้านขององค์ประกอบของธรรมาภิบาล ดังต่อไปนี้ 2
6.1 ผลการวิเคราะห์แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก
ของกระบวนการขึ้นทะเบียนตำรับยา
6.1.1 ผลการวิเคราะห์แบบสอบถาม
สาระสำคัญของประเด็นที่ใช้ในการสอบถามกระบวนการขึ้นทะเบียนยา ในแต่ละข้อ
คำถามสามารถวิเคราะห์ได้ 2 มุมมอง คือ
(1) ในมุมมองของประเด็นที่สำคัญในกระบวนการขึ้นทะเบียนตำรับยา แบ่งเป็น
ก. กฎหมาย/กฎระเบียบ ข. คณะกรรมการยา คณะอนุกรรมการยา และ
ผู้เชี่ยวชาญ และ ค. กระบวนการและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นทะเบียนยา และ
(2) มุมมองในแง่ของธรรมาภิบาล ได้แก่ นิติรัฐ (Rule of Law) ความโปร่งใส
(Transparency) ความพร้อมรับผิดชอบ (Accountability) ความมีประสิทธิภาพ
(Efficiency) และการมีส่วนร่วม (Participation) มีรายละเอียด ดังนี้
2 ดูวิธีการการสำรวจความคิดเห็น (Survey) และการสัมภาษณืเชิงลึกในบทที่ 3
บทที่ 6
สถาบันพระปกเกล้า