Page 447 - kpiebook65064
P. 447
โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ 397
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
ต่อมาใน พ.ศ. 2541 กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายปฏิรูประบบริหารเวชภัณฑ์ตามแผน
แม่บทการพัฒนาสุขภาพที่ดีด้วยต้นทุนต่ำ (Good Health at Low Cost) โดยมีนโยบายให้แต่ละ
จังหวัดดำเนินการจัดซื้อร่วมกันในจังหวัด การดำเนินการดังกล่าวสามารถประหยัดงบประมาณด้าน
ยาอย่างต่อเนื่องตั้งแค่ พ.ศ. 2541 จนถึงปัจจุบัน โดยสามารถประหยัดงบประมาณการจัดซื้อยาได้
171.47 ล้านบาทใน พ.ศ. 2541 และเพิ่มเป็น 507.28 ล้านบาทใน พ.ศ. 2544 2
ปัจจุบันการคัดเลือกยาและจัดซื้อยาในระดับจังหวัดของกระทรวงสาธารณสุขอาศัยแนวทาง
การจัดหาเวชภัณฑ์ร่วมกันที่เป็นไปตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการจัดซื้อยาและ
เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา พ.ศ. 2543 ข้อ 10 ที่กำหนดให้หน่วยราชการหรือส่วนราชการใดที่ตั้งอยู่ใน
พื้นที่เดียวกัน มีการซื้อยาหรือเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ที่มีมูลค่าสูงให้ดำเนินการจัดซื้อยาหรือเวชภัณฑ์
ที่มิใช่ยา และการจัดซื้อต้องทำในรูปของคณะกรรมการซึ่งตามข้อ 5 (ข) ของระเบียบระบุให้มี
คณะกรรมการตามที่นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดหรือหัวหน้าหน่วยราชการตั้งแต่ระดับกองหรือ
เทียบเท่าขึ้นไปแต่งตั้งทำหน้าที่ดังกล่าว ส่วนวิธีจัดซื้อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวง
สาธารณสุขกำหนดในระเบียบกระทรวงสาธารณสุขฯ พ.ศ. 2543 และระเบียบสำนักนายก
รัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุฯ พ.ศ. 2535 โดยการจัดซื้อยาภายในจังหวัดจะแบ่งตามพื้นที่ดูแลของ
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) โดยปัจจุบันมี สสจ. ทั้งสิ้น 76 แห่ง
นอกจากนี้ ต้องปฏิบัติตามแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพระบบบริหารเวชภัณฑ์
กระทรวงสาธารณสุขและนโยบายการพัฒนาประสิทธิภาพระบบบริหารเวชภัณฑ์ ตามแนวทาง
การพัฒนาประสิทธิภาพระบบบริหารเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข ปี 2542 ในส่วนที่
เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อยาในระดับจังหวัด ตามตารางภาคผนวก ง.–1
2 กรมสนับสนุนบริการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2548). หลักเกณฑ์การจัดซื้อยาของกระทรวงสาธารณสุข
ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 9 กันยายน 2546 (การจัดซื้อและประกันคุณภาพยาร่วมกันในระดับเขต). กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์นิวธรรมดาการพิมพ์, น. 2.
ภาคผนวก
สถาบันพระปกเกล้า