Page 67 - kpiebook65069
P. 67
66 นวัตกรรมประชาธิปไตยในการเลือกตั้งท้องถิ่นของไทย (Democratic Innovations in Thailand’s Local Elections)
กระบวนการนับคะแนนการเลือกตั้งแบบคู่ขนานนั้นจะเก็บข้อมูลรายหน่วย
ผ่านแบบสอบถามที่อาสาสมัครสังเกตการณ์เลือกตั้งเป็นคนกรอก ประกอบไปด้วย
ข้อมูล 2 ส่วนส�าคัญได้แก่ 1. ส่วนของการติดตามการจัดการเลือกตั้งนับตั้งแต่
เวลาเปิดให้ประชาชนลงคะแนนเสียงจนกระทั่งเวลาปิดไม่ให้ประชาชนมาลงคะแนนเสียง
และ 2. ส่วนของการติดตามการนับคะแนนของเจ้าหน้าที่ประจ�าหน่วย ว่ามีการทุจริต
ไม่โปร่งใส่หรือไม่
อาสาสมัครสังเกตการณ์เลือกตั้งจะรายงานข้อมูลเข้ามายังส่วนกลาง
ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นจะถูกน�าไปเผยแพร่ต่อสาธารณะเพื่อยืนยันว่าการเลือกตั้งในครั้งนั้น
มีความโปร่งใส เสรี และเป็นธรรมจริง เช่นเดียวกันผลคะแนนเลือกตั้งที่ได้จาก
อาสาสมัครจะถูกน�ามาค�านวณและเผยแพร่ก่อนผลคะแนนอย่างเป็นทางการจาก
หน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยมีจุดประสงค์เพื่อที่จะน�าชุดผลคะแนนเหล่านั้นมา
ตรวจสอบและยืนยันว่าตรงกับผลคะแนนการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ
เพื่ออะไร?
แม้ว่ากระบวนการนับคะแนนการเลือกตั้งแบบคู่ขนานจะเป็นการเก็บข้อมูล
คล้าย ๆ กับเครื่องมือที่เคยมี เช่น Exit poll ทว่าจุดประสงค์และกระบวนการ
กลับแตกต่างกันออกไป ในขณะที่ Exit poll นั้นต้องการที่จะส�ารวจความคิดเห็น
ของประชาชนด้วยการถามว่า เลือกใครหรือเลือกเพราะอะไร กระบวนการนับคะแนน
การเลือกตั้งแบบคู่ขนานกลับสนใจการด�าเนินการจัดการเลือกตั้งและผลคะแนนของ
การเลือกตั้งเป็นส�าคัญมากกว่า ซึ่งในสังคมที่เผชิญหน้ากับสภาวะความหวาดระแวง
และไร้ซึ่งความไว้วางใจ การส�ารวจแรงจูงใจและเหตุผลขของการลงคะแนนเสียงของ
ปัจเจกบุคคลอาจจะก่อให้เกิดความรู้สึกในแง่ลบของประชาชนได้