Page 68 - kpiebook65069
P. 68

67



                  กลับกัน กระบวนการนับคะแนนการเลือกตั้งแบบคู่ขนาน นั้นไม่ได้สนใจถึง
           ค�าถามเชิงพฤติกรรมของประชาชน แต่มีจุดประสงค์เพื่อการติดตามและตรวจสอบ

           การด�าเนินการเลือกตั้งให้ตรงต่อกฎหมายและแท้จริงต่อเสียงของประชาชน โดยจะมี
           ข้อมูลจากหน่วยเลือกตั้งเป็นหลักฐานข้อเท็จจริงในการยืนยันว่าการเลือกตั้งที่ถูกจัด

           ขึ้นนั้นสุจริตและยุติธรรมหรือไม่

                  กระบวนการดังกล่าวนี้จะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นภายในสังคม

           การออกเสียงของประชาชนจะสามารถถูกตรวจสอบได้ด้วยประชาชนเองว่าจริงแท้
           ต่อความต้องการของประชาชนในสังคมหรือไม่ ภาครัฐ โดยเฉพาะหน่วยงานที่จัดการ

           เลือกตั้งจะสามารถยืนยันได้จากการตรวจสอบของประชาชน ว่าได้มีการท�างาน
           อย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส ลดความหวาดระแวงภายในสังคม เพิ่มความน่าเชื่อถือ

           ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสร้างความชอบธรรมให้แก่ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้ง


                  นอกจากการตรวจสอบการจัดการเลือกตั้งและผลคะแนนแล้ว ประเด็นส�าคัญ
           ส�าหรับกระบวนการนับคะแนนการเลือกตั้งแบบคู่ขนานคือการส่งเสริมการมีส่วนร่วม
           ทางการเมืองของประชาชนภายในสังคม โดยกระบวนดังกล่าวนี้มีปัจจัยส�าคัญคือ

           อาสาสมัคร จะสามารถท�าได้ส�าเร็จหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับอาสาสมัครผู้เข้าร่วมเป็นส�าคัญ

           กระบวนการนี้จึงเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนรู้สึกต้องการเข้ามามีส่วนร่วม รู้สึกว่า
           ตนเองนั้นมีส่วนได้ส่วนเสียจากการเลือกตั้งและเป็นเจ้าของร่วมในพื้นที่ ไม่ใช่เพียงแค่
           ลงคะแนนเสียงไปด้วยความคิดที่ว่าจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง กระบวนการนี้จะเร่งให้

           เกิดความตื่นตัวทางการเมืองและปลูกจิตส�านึกความเป็นพลเมืองให้เกิดขึ้นภายในสังคม

                  กล่าวได้ว่า กระบวนการนับคะแนนการเลือกตั้งแบบคู่ขนาน นั้นมีจุดประสงค์

           2 ประการด้วยกัน ได้แก่ 1. การติดตามตรวจสอบให้การจัดการเลือกตั้งนั้นเป็นไป

           อย่างโปร่งใส เที่ยงธรรม และสุจริต และ 2. เสริมสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมือง
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73