Page 69 - kpiebook65069
P. 69

68    นวัตกรรมประชาธิปไตยในการเลือกตั้งท้องถิ่นของไทย (Democratic Innovations in Thailand’s Local Elections)



        ให้แก่ประชาชนภายในสังคม ในบริบทของสังคมไทยที่ห่างหายจากการเลือกตั้งท้องถิ่น
        นานถึง 7 ปี ประกอบกับความขัดแย้งทางการเมืองที่แบ่งออกเป็นสองฝ่ายส�าคัญ

        คาดว่าการน�านวัตกรรมกระบวนการนับคะแนนการเลือกตั้งแบบคู่ขนานมาปรับใช้
        ให้เข้าบริบทของประเทศไทยจะส่งท�าให้เกิดผลลัพธ์ในเชิงบวกมากยิ่งขึ้น






               ใช้อย่างไร?


               กระบวนการนับคะแนนการเลือกตั้งแบบคู่ขนานถูกใช้ครั้งแรกในการเลือกตั้ง

        ประธานาธิบดีของประเทศฟิลิปปินส์ในปี ค.ศ. 1986 ซึ่งนับตั้งแต่ครั้งแรกที่มีการเริ่ม
        ใช้งาน ก็ได้ถูกพัฒนาและแปรเปลี่ยนให้เข้ากับบริบทของแต่ละประเทศที่น�าไปประยุกต์ใช้


               ในเบื้องต้น กระบวนการนับคะแนนการเลือกตั้งแบบคู่ขนานให้ความส�าคัญ
        และพึ่งพาการค�านวณทางสถิติเป็นหลัก โดยสามารถแบ่งกระบวนการออกเป็น
        2 ประเภท ได้แก่ 1. กระบวนการนับคะแนนการเลือกตั้งแบบคู่ขนานอย่างครอบคลุม

        (Comprehensive Parallel Vote Tabulation) ที่จะท�าการลงสังเกตการณ์ทุกหน่วย

        เลือกตั้ง และ 2. กระบวนการนับคะแนนการเลือกตั้งแบบคู่ขนานโดยน�าหลักการ
        ทางสถิติมาค�านวนเพื่อสุ่มตัวอย่างหน่วยเลือกตั้ง (Statistically Parallel Vote
        Tabulations) ซึ่งในปัจจุบันพบว่าด้วยข้อจ�ากัดทางทรัพยากร หลายประเทศจึงเลือก

        กระบวนการนับคะแนนการเลือกตั้งแบบคู่ขนานแบบสุ่มด้วยค่าทางสถิติมาใช้


               การค�านวณทางสถิติ ถูกน�ามาใช้เพื่อหาจ�านวนหน่วยเลือกตั้งและจ�านวน
        อาสาที่จ�าเป็นส�าหรับการลงสังเกตการณ์เพื่อที่ข้อมูลนั้นจะมีความน่าเชื่อถือและ

        มีความคลาดเคลื่อนต�่าที่สุด ซึ่งจ�านวนในการเลือกตั้งแต่ละครั้งนั้นแตกต่างกันออกไป
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74