Page 71 - kpiebook65069
P. 71
70 นวัตกรรมประชาธิปไตยในการเลือกตั้งท้องถิ่นของไทย (Democratic Innovations in Thailand’s Local Elections)
3. การจ�าลองสถานการณ์ เพื่อให้อาสาสมัครทราบถึงขั้นตอน กระบวนการ
สิ่งที่ควรหรือไม่ควรปฏิบัติ รวมไปถึงการรับมือกับเหตุสุดวิจัยที่อาจจะเกิดขึ้นภายใน
หน่วยเลือกตั้ง ณ วันปฏิบัติหน้าที่
ท้ายที่สุด หลังจากการค�านวนทางสถิติ เฟ้นหาอาสาสมัคร และท�าการฝึกอบรม
ก็เป็นการด�าเนินการลงพื้นที่ไปยังหน่วยเลือกตั้งเพื่อสังเกตการณ์
เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการทั้งหมดเรียบร้อย ข้อมูลดังกล่าวจะถูกน�าไปเผยแพร่
โดยคาดว่าจะท�าการเผยแพร่ในเวลา 2-3 ชั่วโมงหลังเสร็จสิ้นการนับคะแนนเสียง และ
จะถูกส่งต่อไปยังสื่อหรือองค์กรต่าง ๆ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้สาธารณะได้รับรู้ถึงคุณภาพ
ของการเลือกตั้งในครั้งนั้น ๆ โดยข้อมูลทั้งหลาย ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้
อย่างไม่มีข้อจ�ากัด และสามารถน�าไปใช้เพื่อต่อยอดต่อไปในอนาคต
ส�าหรับประเทศไทย ได้มีการน�ากระบวนการนับคะแนนการเลือกตั้งแบบคู่ขนาน
มาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทภายในประเทศโดยได้รับความร่วมมือจากหลายภาคีเครือข่าย
ในการด�าเนินการ แต่ละภาคส่วนได้มีการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมในรูปแบบ
ที่แตกต่างเพื่อตอบโจทย์การติดตามความโปร่งใสและสุจริตยุติธรรมของการเลือกตั้ง
ซึ่งนวัตกรรมที่ได้น�ามาใช้ในการเลือกตั้งท้องถิ่นของประเทศไทยมีทั้งหมด 4 ประเภท
ดังต่อไปนี้