Page 70 - kpiebook65069
P. 70

69



                  ถัดมา เมื่อทราบข้อมูลที่จ�าเป็นส�าหรับกระบวนการนับคะแนนการเลือกตั้ง
           แบบคู่ขนาน ปัจจัยที่มีผลส�าคัญต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูลและผลกระทบในเชิงบวก

           ของการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมือง คือ อาสาสมัคร ฉะนั้น การประชาสัมพันธ์
           และชักชวนให้ผู้ที่มีความสนใจเข้ามาสู่ระบบของการเป็นอาสาสมัครจึงส�าคัญ

           เท่ากับการจัดฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมในการลงปฏิบัติหน้าที่สังเกตการณ์
           ณ หน่วยเลือกตั้ง


                  การอบรมจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนส�าคัญ ได้แก่


                  1. การชี้แจงถึงประเด็นค�าถามในแบบสอบถาม สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง
           บนพื้นฐานของกฎหมายการเลือกตั้งให้แก่อาสาสมัคร โดยแบบสอบถามนั้นถูกออกแบบ
           ให้สอดคล้องกับกฎหมายการเลือกตั้งในประเทศไทยโดยเฉพาะ แบ่งออกเป็น 3 ช่วง

           ด้วยกัน ได้แก่


                     1.1 ช่วง 08.00 น. หรือช่วงของการเปิดให้ประชาชนมาลงคะแนนเสียง

                     1.2 ช่วงการด�าเนินการลงคะแนนเสียงระหว่างวันของประชาชน

                     1.3 ช่วง 17.00 น. หรือช่วงเวลาปิดไม่ให้ประชาชนลงคะแนนเสียง



                  2. การฝึกใช้และท�าความเข้าใจเครื่องมือนวัตกรรมส�าหรับการรายงาน

           สถานการณ์และผลคะแนนการเลือกตั้ง ในแต่ละการเลือกตั้ง เครื่องมือนวัตกรรม
           ส�าหรับกระบวนการนับคะแนนการเลือกตั้งแบบคู่ขนานนั้นแตกต่างกันออกไป จึงจ�าเป็น

           จะต้องให้ผู้พัฒนาเครื่องมือจัดอบรมและฝึกการใช้งานให้แก่อาสาสมัคร
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75