Page 103 - kpi12626
P. 103

2 การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:


          คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
                regression estimation) เป็นต้น 20
                      ในทำนองเดียวกัน การวิเคราะห์ความเพียงพอของการให้บริการ

                สาธารณะจากข้อมูลการเงินการบัญชีเป็นอีกความพยายามหนึ่งในการ
                พัฒนาตัวชี้วัดเพื่อให้สะท้อนถึงขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วน
                ท้องถิ่นในการให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างเพียงพอ แน่นอนว่าตัวชี้วัด
                ดังกล่าวมีข้อจำกัดและอาจไม่สามารถสะท้อนถึงขีดความสามารถของ
                ท้องถิ่นในการตอบสนองประชาชนได้อย่างตรงไปตรงมา  แต่อย่างน้อยการ
                                                               21
                วิเคราะห์เช่นนี้สามารถให้ข้อมูลสำหรับการวางแผนและการจัดบริการของ
                องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ ตัวชี้วัดความเพียงพอในการให้บริการของ
                ท้องถิ่น (service-level solvency) ในงานเขียนนี้ประกอบไปด้วย (1) มูลค่า
                ทรัพย์สินถาวรต่อประชากร (Fixed Assets Per Capita) หากท้องถิ่นมีระดับ

                การลงทุนที่ต่ำอาจหมายความว่าทรัพย์สินหรือครุภัณฑ์ต่างๆ ที่จำเป็น
                สำหรับการให้บริการประชาชนยังไม่มากเท่าที่ควร (2) ระดับภาษีท้องถิ่น
                ต่อประชากร (Local Tax Per Capita) ซึ่งนอกจากจะสะท้อนถึงระดับความ
                พยายามของท้องถิ่นในการจัดเก็บภาษีอากรแล้ว ยังสะท้อนถึงปริมาณของ
                การจัดบริการสาธารณะที่จะกลับคืนสู่ชุมชนด้วย (3) รายจ่ายของท้องถิ่น
                ต่อประชากร (Spending Per Capita)  เพื่อพิจารณาว่าท้องถิ่นมีการให้บริการ
                ในด้านต่างๆ มากน้อยเพียงใดเมื่อคิดเป็นจำนวนเงินต่อประชากร และ

                (4) จำนวนประชากรต่อพนักงานให้บริการของท้องถิ่น (Service Capability Per
                Employee) คือการพิจารณาว่าจำนวนประชาชนที่จะได้รับบริการจาก
                พนักงานท้องถิ่นที่จ้างเต็มเวลา (full-time equivalent staff) ต่อ 1 คนเป็น
                อย่างไร หากมีสัดส่วนประชากรต่อพนักงานท้องถิ่นจำนวนมากอาจ
                หมายความว่าการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ทั่วถึงเท่าที่ควร

                   20    งานของผู้เขียนก่อนนี้เป็นการประเมินความต้องการด้านงบประมาณของประชาชน
                (expenditure need) เปรียบเทียบกับขีดความสามารถทางการคลังของเทศบาลที่มีอยู่ (revenue-
                raising capacity) โดยใช้วิธีการทางสถิติสมการถดถอยเชิงพหุ ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการ
                วิเคราะห์ข้อมูลจากงบการเงินในครั้งนี้ รายละเอียดอ่านเพิ่มเติมได้จาก วีระศักดิ์ เครือเทพ
                (2551ก) หรือ Krueathep (2010a, 2010b) ต่อไป
                   21    อ่านข้อจำกัดของการวัดความเพียงพอในการจัดบริการสาธารณะโดยใช้ดัชนีชี้วัด
                ทางการเงินได้จากข้อเขียนหัวข้อ 2.1 ที่ผ่านมา
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108