Page 98 - kpi12626
P. 98

การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:



                  5.4 บทสรุปและข้อเสนอแนะในการสร้าง
                        ความยั่งยืนทางการเงินในระยะยาว


                        ในภาพรวมนั้น การวิเคราะห์ความยั่งยืนทางการเงินในระยะยาวของ
                  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินว่าองค์กรปกครอง
                  ส่วนท้องถิ่นก่อภาระหนี้ในระยาวในสัดส่วนที่เหมาะสมมากน้อยเพียงใด       คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่

                  จะมีขีดความสามารถในการก่อหนี้เพิ่มขึ้นเพี่อนำไปสู่การเพิ่มขอบเขตการให้
                  บริการแก่ประชาชนได้มากน้อยเช่นใดโดยที่ไม่ก่อให้เกิดภาระในการชำระหนี้
                  เงินกู้ในระยะยาวมากเกินตัว ในการตอบคำถามดังกล่าวนี้สามารถใช้
                  อัตราส่วนทางการเงินใน 5 ด้าน ได้แก่ (1) อัตราส่วนสินทรัพย์สุทธิ (2) ระดับ
                  หนี้สินต่อเงินสะสม (3) ระดับหนี้ระยะยาวต่อรายรับรวม (4) ภาระหนี้ระยะ
                  ยาวต่อประชากร และ (5) สัดส่วนของรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้


                        การประยุกต์ใช้อัตราส่วนทางการเงินกับเทศบาลกลุ่มตัวอย่างสะท้อน
                  ให้เห็นว่าภาระหนี้ระยะยาวของเทศบาลในปัจจุบันมิได้สูงเกินไปนัก เทศบาล
                  กลุ่มตัวอย่างที่มีการก่อหนี้มีเงินกู้คงค้างต่อรายได้รวมในปีงบประมาณ 2552
                  คิดเป็นร้อยละ 20.55 และมีสัดส่วนรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ราวร้อยละ 3.9
                  โดยเฉลี่ย ตัวชี้วัดเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าเทศบาลที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดย
                  เฉพาะเทศบาลนครและเทศบาลเมือง ยังคงมีศักยภาพในการหารายได้เพื่อ
                  นำไปเพิ่มระดับบริการสาธารณะโดยการก่อหนี้มากขึ้นได้ ไม่ว่าจะพิจารณา

                  จากขนาดของการก่อหนี้หรือจากระดับรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ อย่างไรก็ดี
                  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงภูมิศาสตร์การคลัง (geographical fiscal analysis)
                  ชี้ให้เห็นว่าเทศบาลในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนไกล (บริเวณ
                  ที่ติดกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและประเทศกัมพูชา)
                  มีภาระหนี้ระยะยาวในสัดส่วนที่สูงกว่าเทศบาลในกลุ่มจังหวัดอื่นๆ โดยเฉลี่ย

                  จึงสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นที่ส่วนงานที่เกี่ยวข้องควรเข้าไปติดตาม
                  สถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด และในกรณีที่จำเป็นก็ควรมีการกำหนด
                  แนวนโยบายในการแก้ไขปัญหาที่มีความเป็นรูปธรรมต่อไป
   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103