Page 104 - kpi12626
P. 104
การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: 3
6.2 วิธีการคำนวณและการวิเคราะห์ผล
วิธีการคำนวณดัชนีชี้วัดความเพียงพอของการให้บริการสาธารณะ
ทั้ง 4 ประการ พร้อมค่าอ้างอิงจากเทศบาลกลุ่มตัวอย่างในปีงบประมาณ
2552 แสดงดังตารางที่ 6-1 ต่อไปนี้ ทั้งนี้ค่าอ้างอิงของเทศบาลกลุ่มตัวอย่าง
แสดงเป็นช่วงใน 4 ลักษณะได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (mean) และค่าลำดับ คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
เปอร์เซ็นไทล์ (percentile) ที่ลำดับร้อยละ 25, 50, และ 75 ตามลำดับ
ผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถเลือกใช้ค่าอ้างอิงที่ลำดับ
ต่างๆ สำหรับการเปรียบเทียบกับระดับของการจัดบริการสาธารณะของ
องค์กรได้ตามสมควร
เมื่อได้คำนวณค่าดัชนีชี้วัดความเพียงพอของการจัดบริการสาธารณะ
แล้ว ผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องพิจารณาถึงนโยบาย
และแผนการจัดบริการสาธารณะอย่างรอบคอบ และควรจะพิจารณาควบคู่
ไปกับผลการวิเคราะห์ฐานะทางการเงินในด้านต่างๆ อีก 3 ด้านที่ได้ดำเนิน
การมาแล้วก่อนหน้านี้ ถ้าหากผู้บริหารพบว่าระดับความเพียงพอในการให้
บริการสาธารณะขององค์กรตนเองยังคงด้อยกว่าค่าเฉลี่ยของเทศบาลกลุ่ม
ตัวอย่าง อาทิ มีการลงทุนในทรัพย์สินถาวร ครุภัณฑ์ หรืออุปกรณ์เครื่องมือ
ต่างๆ ที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย หรือมีระดับรายจ่ายในการจัดบริการสาธารณะ
ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มอ้างอิง ฯลฯ ผู้บริหารท้องถิ่นควรตระหนักถึงข้อเท็จจริง
ที่ว่าองค์กรปกครองท้องถิ่นของตนเองอาจยังจัดบริการให้แก่ประชาชนได้
ไม่เท่ากับบริการที่ประชาชนในชุมชนท้องถิ่นแห่งอื่นๆ ได้รับจากองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นของพวกเขา ในกรณีเช่นนี้ ผู้บริหารท้องถิ่นอาจจำเป็น
ต้องปรับเปลี่ยนนโยบายการจัดบริการสาธารณะและ/หรือแนวทางบริหาร
การเงินและงบประมาณบางประการเพื่อนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถใน
การให้บริการประชาชนได้มากขึ้นต่อไป