Page 106 - kpi12626
P. 106

การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:


                        และถ้าหากพิจารณาย้อนกลับไปถึงการวิเคราะห์ฐานะทางการเงิน
                  ขององค์กรในด้านสภาพคล่องทางการเงินในระยะสั้น ความยั่งยืนทาง

                  งบประมาณ หรือระดับภาระหนี้ในระยะยาวแล้วนั้น (เนื้อหาในบทที่ 3 ถึง 5)
                  หากพบว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสภาพคล่องทางการเงินในระยะสั้น
                  ระดับที่สูง ไม่มีข้อจำกัดในการทำงบประมาณให้สมดุลในแต่ละปี อาทิ
                  มีความยั่งยืนทางงบประมาณสูง มีอัตราส่วนการดำเนินงานที่มีค่าสูงกว่า     คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
                  1 หรือมีระดับเงินสะสมจ่ายขาดได้ในสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับงบประมาณ

                  รายจ่าย อีกทั้งยังมิได้มีภาระหนี้สินระยะยาวมากเท่าใดนัก ในกรณีเช่นนี้
                  ย่อมบ่งชี้ถึงโอกาสและความจำเป็นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะขยาย
                  ขอบเขตการให้บริการแก่ประชาชนและ/หรือสามารถลงทุนพัฒนาโครงการที่
                  สำคัญต่างๆ ได้มากขึ้นโดยอาศัยสภาพคล่องส่วนเกินที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์
                  อย่างเต็มที่ ซึ่งไม่น่าจะก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อฐานะทางการเงินระยะ
                  สั้นมากเท่าใดนัก ดังนี้เป็นต้น


                        ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวได้ว่าการวิเคราะห์ระดับความเพียงพอของการจัด
                  บริการสาธารณะมีจุดประสงค์เพื่อต้องการประเมินว่าองค์กรปกครองส่วน
                  ท้องถิ่นสามารถจัดบริการให้แก่ประชาชนในชุมชนได้มากน้อยเพียงใดเมื่อ
                  เปรียบเทียบกับท้องถิ่นแห่งอื่นๆ โดยเฉลี่ย ทั้งนี้เพื่อต้องการตอบคำถามใน
                  เชิงนโยบายว่า (1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดบริการให้แก่
                  ประชาชนเพิ่มขึ้นอีกได้หรือไม่ (2) จะสามารถบริหารจัดเก็บภาษีท้องถิ่นเพื่อ

                  นำมาใช้ในการจัดบริการได้มากขึ้นหรือไม่  (3) ท้องถิ่นจะเพิ่มการลงทุนใน
                  ครุภัณฑ์และ/หรือสินทรัพย์ถาวรเพื่อนำไปสู่การเพิ่มขอบเขตหรือศักยภาพใน
                  การให้บริการประชาชนมากขึ้นได้หรือไม่ และ (4) ท้องถิ่นจะมีจำนวน
                  บุคลากรสำหรับให้บริการประชาชนอย่างเพียงพอหรือไม่ หากผู้บริหาร
                  ท้องถิ่นในยุคใหม่สามารถวางแผนจัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนได้

                  อย่างเต็มศักยภาพทางการเงินการคลังขององค์กรที่มีอยู่ โดยที่มิได้ก่อให้เกิด
                  ภาระผูกพันหรือรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ในระยะยาวมากเกินตัวแล้วนั้น
                  สภาวการณ์เช่นนี้ย่อมเป็นที่พึงประสงค์ของประชาชนและเป็นหัวใจสำคัญ
                  ของการบริหารงานท้องถิ่นในยุคสมัยแห่งประชาธิปไตยในปัจจุบัน
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111