Page 99 - kpi12626
P. 99
การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:
คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
ในอนาคต มีความจำเป็นที่ส่วนงานที่รับผิดชอบจะกำหนดกรอบที่
ชัดเจนเกี่ยวกับการรักษาความยั่งยืนทางการเงินในระยะยาวขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นการเฉพาะ โดยการพัฒนาแนวนโยบายและ
กฎกติกาในการก่อหนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอนาคต เพื่อเป็นการ
ส่งเสริมขีดความสามารถในการจัดบริการสาธารณะของท้องถิ่นภายใต้กรอบ
การรักษาความยั่งยืนทางการเงินการคลัง กฎกติกาเหล่านี้ควรมีเนื้อหารวม
ถึง (1) แนวทางหรือวัตถุประสงค์ในการก่อหนี้ของท้องถิ่นว่าสามารถนำมาใช้
ในเรื่องใดหรือภารกิจใด และควรมีข้อห้ามในการก่อหนี้เพื่อนำเงินมาใช้ใน
รายจ่ายประจำ (2) การกำหนดเพดานหนี้ที่เหมาะสมขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นรูปแบบต่างๆ (debt-bearing capacity framework) และ (3) การ
กำหนดนโยบายที่ชัดเจนว่ารัฐบาลจะไม่รับชำระหนี้แทนองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นถ้าหากองค์กรเหล่านี้ไม่สามารถชำระหนี้ที่ตนเองก่อขึ้นได้ (hard
19
budget constraints—no bailout policy) เงื่อนไขต่างๆ ทั้งหมดนี้มีจุดประสงค์
เพื่อส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อหนี้เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายด้วย
ความรับผิดชอบ ไม่สุรุ่ยสุร่ายโดยการก่อหนี้สินจนเกินตัว และสามารถนำไป
สู่ความยั่งยืนของการจัดบริการของชุมชนท้องถิ่นได้ต่อไป
19 ปัจจุบัน พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ.2548 มาตราที่ 19 ได้กำหนดข้อห้ามมิให้
กระทรวงการคลังหรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ เข้ารับผิดชอบหรือค้ำประกันหนี้หรือตั้ง
งบประมาณรายจ่ายเพื่อชำระคืนเงินต้นหรือดอกเบี้ยเงินกู้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในกรณีที่ท้องถิ่นกู้เงินโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายที่จัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น
หรือกฎหมายอื่น และมิใช่เป็นการกู้เงินจากกระทรวงการคลัง แต่เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่พบ
ว่ามีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดที่ประสบปัญหาการขาดความสามารถในการชำระหนี้
(default) จึงยังไม่มีหลักประกันที่ชัดเจนว่ารัฐบาลจะรักษาวินัยทางการคลังอย่างเคร่งครัดโดย
การปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยการรับชำระ
หนี้แทนให้ (bailout) ดังนั้นจึงควรมีการกำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวนี้ไว้ด้วย