Page 109 - kpi12626
P. 109
การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:
คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
ลำดับต่อมา ขีดความสามารถของเทศบาลในการระดมทรัพยากรจาก
ภาษีอากรท้องถิ่น (taxing capacity) มีความแตกต่างกัน สมมติว่าเทศบาล
แต่ละแห่งใช้ความพยายามในการจัดเก็บภาษีท้องถิ่น (tax effort) เท่ากันแล้ว
การที่เทศบาลแต่ละแห่งมีปัจจัยพื้นฐานและระดับความเจริญทางเศรษฐกิจ
ที่แตกต่างกันย่อมส่งผลให้เทศบาลแต่ละแห่งมีขีดความสารถในการจัดเก็บ
ภาษีเพื่อนำมาใช้จ่ายในการให้บริการสาธารณะในระดับที่แตกต่างกันออกไป
ในกรณีของเทศบาลนครและเทศบาลที่มีขนาดใหญ่ในด้านจำนวน
ประชากร (มากกว่า 5 หมื่นคนขึ้นไป) หรือมีขนาดงบประมาณรายจ่ายตั้งแต่
400 ล้านบาทขึ้นไป มีขีดความสามารถในการจัดเก็บภาษีท้องถิ่นที่สูงกว่า
1.3 พันบาทต่อประชากรในปีงบประมาณ 2552 ในทางกลับกัน เทศบาล
ขนาดเล็กสามารถจัดเก็บภาษีท้องถิ่นได้ระหว่าง 200 – 600 บาทต่อ
ประชากรเท่านั้น ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นประการหนึ่ง
ในการสร้างความเสมอภาคทางการคลังระหว่างพื้นที่ (horizontal equity) ซึ่ง
รัฐบาลสามารถดำเนินการได้โดยใช้เครื่องมือการจัดสรรเงินอุดหนุน (fiscal
equalization transfers) ให้แก่ท้องถิ่นเพื่อช่วยลดความแตกต่างกันในด้าน
ทรัพยากรได้ต่อไป
ในทำนองเดียวกัน ระดับรายจ่ายรวมต่อประชากรและความทั่วถึง
ในการให้บริการประชาชนของเทศบาลขนาดเล็กดังเช่นเทศบาลตำบล
เทศบาลที่มีขอบเขตภารกิจที่จำกัด หรือเทศบาลที่มีขนาดงบประมาณ
รายจ่ายต่ำกว่า 25 ล้านบาท มักมีระดับรายจ่ายรวมต่อประชากรต่ำกว่า
เทศบาลขนาดอื่นๆ อีกทั้งยังมีจำนวนพนักงานในการดูแลและให้บริการต่อ
ประชากรในระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยด้วย ข้อมูลเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าหาก
ต้องการให้การปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับ
คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะพื้นที่
ชนบทห่างไกลแล้ว ข้อมูลจากการสำรวจในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่าการให้
บริการของเทศบาลขนาดเล็กๆ อาจยังไม่เพียงพอทั้งในด้านการให้บริการ
ทั่วไปและในด้านการลงทุน และเป็นประเด็นที่ควรเรียกร้องให้ผู้บริหาร
ท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยกันผลักดันและพัฒนาศักยภาพ