Page 110 - kpi12626
P. 110
การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:
ทางการบริหารงานและการเงินการคลังของเทศบาลเหล่านี้อย่างเร่งด่วน
ต่อไปในอนาคต
ในประเด็นสุดท้าย หากเราขยายมุมมองเกี่ยวกับความเพียงพอในการ
ให้บริการของเทศบาลกลุ่มตัวอย่างโดยพิจารณาเปรียบเทียบกันในเชิงพื้นที่
ภูมิศาสตร์แล้ว จะพบว่ามีประเด็นที่น่าสนใจดังแสดงในแผนภาพที่ 6-1 และ คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
ตารางที่ 6-3 ด้านล่าง ข้อมูลในแผนภาพที่ 6-1 แสดงการจัดลำดับความ
เพียงพอในการให้บริการสาธารณะของเทศบาลกลุ่มตัวอย่างในระดับจังหวัด
22
โดยแบ่งเป็น 4 ช่วงตามการจัดลำดับควอไทล์ (quartile ranking) จากค่า
ดัชนีรวมของอัตราส่วนทางการเงินทั้ง 4 ประการ ค่าควอไทล์ที่ 1 (แสดงเป็น
จังหวัดสีขาวในแผนภาพ 6-1) หมายความว่าเทศบาลในจังหวัดหนึ่งๆ
โดยเฉลี่ยมีระดับความเพียงพอของการให้บริการที่ต่ำสุดเมื่อเทียบกับ
เทศบาลในจังหวัดอื่นๆ ในทางกลับกัน ค่าควอไทล์ที่ 4 (แสดงเป็นจังหวัด
สีแดงในแผนภาพ 6-1) ชี้ให้เห็นว่าเทศบาลในจังหวัดนั้นๆ โดยเฉลี่ยมีระดับ
ความเพียงพอของการจัดบริการที่สูงกว่าเทศบาลในจังหวัดอื่นๆ
ประเด็นที่มีความสำคัญในเรื่องนี้ก็คือจังหวัดส่วนใหญ่ที่เทศบาล
สามารถจัดบริการให้แก่ประชาชนได้ในระดับที่สูงกว่าพื้นที่อื่นๆ มักกระจุก
ตัวอยู่ในบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออก ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจังหวัดเหล่านี้
มีความเจริญในทางเศรษฐกิจที่สูง เป็นฐานที่ตั้งของภาคอุตสาหกรรมและ
ธุรกิจพาณิชย์เป็นจำนวนมาก จึงอาจส่งผลทำให้เทศบาลในพื้นที่เหล่านี้
สามารถระดมทรัพยากรเพื่อนำไปใช้ในการจัดบริการให้แก่ประชาชนได้
ครอบคลุมเพียงพอมากขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ดี เทศบาลในกลุ่มจังหวัด
ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักมีค่าดัชนีรวมอยู่ในลำดับควอไทล์
ที่ 1 (พื้นที่สีขาว) และ 2 (พื้นที่สีม่วงอ่อน) ซึ่งหมายความว่าเทศบาลในกลุ่ม
จังหวัดเหล่านี้มีระดับการให้บริการสาธารณะด้านต่างๆ ที่ยังด้อยกว่า
เทศบาลในพื้นที่อื่นๆ
22 รายละเอียดเกี่ยวกับการสร้างดัชนีรวม (composite index) และการจัดลำดับควอไทล์
อ่านได้จากภาคผนวกที่ 2 ท้ายหนังสือเล่มนี้