Page 114 - kpi12626
P. 114

การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:    103


                  ในเชิงลึกประกอบไปด้วยกัน อาทิ การวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีตัวอย่าง
                  เกี่ยวกับแนวนโยบายการบริหารงานของท้องถิ่นและการจัดบริการสาธารณะ

                  ดังที่จะนำเสนอในเนื้อหาบทที่ 7 ต่อไป

                  6.4 บทสรุปและข้อเสนอแนะในการยกระดับความ
                        เพียงพอของการจัดบริการสาธารณะ                                   คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่


                        กล่าวโดยสรุป เนื้อหาในบทนี้นำเสนอถึงหลักการและวิธีการประเมิน
                  ระดับความเพียงพอของการให้บริการสาธารณะในระดับชุมชนท้องถิ่น
                  โดยใช้ดัชนีชี้วัดหลักใน 4 ด้านได้แก่ (1) มูลค่าทรัพย์สินถาวรต่อประชากร
                  (2) ระดับภาษีท้องถิ่นต่อประชากร (3) รายจ่ายของท้องถิ่นต่อประชากร และ
                  (4) จำนวนประชากรต่อพนักงานให้บริการ โดยที่เนื้อหาในบทนี้ได้นำเสนอถึง

                  หลักการประยุกต์ใช้ดัชนีชี้วัดต่างๆ และรวมถึงการตีความหมายเกี่ยวกับ
                  การจัดบริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจากค่าดัชนีชี้วัดข้างต้นที่พึง
                  ต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง และควรพิจารณาควบคู่ไปกับสภาพพื้นฐาน
                  และบริบทของชุมชน และนโยบายในการจัดบริการสาธารณะขององค์กร
                  ปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่ง

                        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ดัชนีชี้วัดต่างๆ ในการวิเคราะห์ความเพียงพอ

                  ในการให้บริการสาธารณะ (service-level solvency) จากเทศบาลกลุ่ม
                  ตัวอย่างโดยใช้ข้อมูลปีงบประมาณ 2552 พบว่าเทศบาลส่วนใหญ่มีระดับ
                  การลงทุนในทรัพย์สินถาวรและในการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายให้แก่
                  ประชาชนในระดับที่ดีพอสมควร อย่างไรก็ดี เทศบาลส่วนใหญ่มีขีดความ
                  สามารถในการระดมทรัพยากรจากท้องถิ่นเพื่อนำมาใช้ในการจัดบริการ

                  สาธารณะที่ไม่สูงเท่าใดนัก นอกจากนี้ เทศบาลกลุ่มตัวอย่างมีจำนวน
                  พนักงานในการให้บริการประชาชนมากน้อยแตกต่างกันไปตามแต่ขนาดของ
                  ชุมชนและภารกิจที่เทศบาลให้บริการ และในภาพรวมของประเทศนั้น ข้อมูล
                  การกระจายตัวของระดับความเพียงพอในการให้บริการสาธารณะของ
                  เทศบาลต่างๆ ในระดับจังหวัดพบว่าในกลุ่มจังหวัดทางภาคเหนือและภาค
   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119