Page 118 - kpi12626
P. 118
7.1 ตัวอย่างการประยุกต์ใช้เครื่องมือ
วิเคราะห์ฐานะทางการเงิน
เนื้อหาในบทต่างๆ ก่อนหน้านี้ (บทที่ 3 ถึง 6) เป็นการ
นำเสนอหลักการและผลการวิเคราะห์ข้อมูลฐานะทางการเงิน
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมิติต่างๆ ในภาพกว้าง (cross-
sectional) โดยใช้ข้อมูลจากเทศบาลตัวอย่างจำนวน 972 แห่ง
ในปีงบประมาณ 2552 สำหรับเนื้อหาในบทนี้เป็นการนำเสนอ
แนวทางการประยุกต์ใช้เครื่องมือวิเคราะห์ฐานะทางการเงิน
และการตีความหมายผลการวิเคราะห์ในเชิงลึก โดยใช้กรณี
ตัวอย่างของเทศบาลขนาดกลางจำนวน 2 แห่งที่มีฐานะ
การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินใน 4 มิติ ทางการเงินแตกต่างกัน ซึ่งคัดเลือกจากค่าดัชนีรวมอัตราส่วน
เป็นเครื่องมือสำหรับการบริหารงานท้องถิ่น ทางการเงินที่สูงและต่ำในแต่ละมิติ 23
ที่จะมีความสำคัญมากขึ้นในยุคสมัยที่
ประชาชนคาดหวังว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เนื้อหาต่อจากนี้จะนำเสนอถึงแนวนโยบายการคลังและ
จะเป็นที่พึ่งหลักในการดูแลคุณภาพชีวิตของพวกเขา การงบประมาณของเทศบาลทั้ง 2 แห่งและผลที่เกิดขึ้นต่อ
ฐานะทางการเงินของเทศบาล ซึ่งวิเคราะห์โดยใช้ดัชนีชี้วัด
ทางการเงินต่างๆ ที่งานเขียนนี้ได้พัฒนาขึ้น หากกล่าวโดยย่อ
กรณีตัวอย่างแรกเป็นเทศบาลที่มีสภาพคล่องทางการเงินใน
ระยะสั้นที่สูงและมีความยั่งยืนทางงบประมาณ แต่ทว่ามีระดับ
การให้บริการสาธารณะที่ไม่สูงนักเมื่อเทียบกับเทศบาลแห่ง
อื่นๆ จึงสามารถกล่าวได้ว่ากรณีตัวอย่างนี้มีการบริหารงาน
คลังแนวอนุรักษ์นิยม (fiscally conservative) มุ่งเน้นการเก็บเงิน
สะสมเป็นจำนวนมาก โดยที่มิได้นำออกมาใช้ในการให้บริการ
หรือในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของประชาชนอย่างเต็มที่เท่าที่
ควร ส่วนกรณีตัวอย่างที่สองเป็นเทศบาลที่มีสภาพคล่องและ
23 รายละเอียดเกี่ยวกับดัชนีรวมอัตราส่วนทางการเงินอ่านได้จากภาค
ผนวกที่ 2 ท้ายหนังสือเล่มนี้