Page 119 - kpi12626
P. 119
10 การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:
คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
ความยั่งยืนในทางงบประมาณที่ไม่สูงนัก แต่ทว่ามีขนาดของการให้บริการ
ที่ดีพอควร กล่าวคือมีการดำเนินภารกิจบริการสาธารณะอย่างกว้างขวาง
เน้นบริหารงานคลังในเชิงรุกมากกว่าตั้งรับ มีการก่อหนี้เพื่อนำมาลงทุน
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงการต่างๆ ที่จำเป็นเพื่อมุ่งแก้ไขปัญหา
เร่งด่วนของประชาชน และมีนโยบายจัดเก็บเงินสะสมเพียงเท่าที่จำเป็น
สำหรับใช้ในการบริหารสภาพคล่องระยะสั้นและมิให้เงินสดขาดมือ
ความเข้าใจที่น่าจะได้รับจากกรณีตัวอย่างเทศบาลทั้ง 2 สะท้อนให้
เห็นว่าการที่เทศบาลมีฐานะการเงินในระยะสั้นและมีความยั่งยืนทาง
งบประมาณในระดับที่ดี แต่ถ้าหากไม่สามารถจัดบริการได้สมตามศักยภาพ
ทางการเงินขององค์กรหรือมิได้ดำเนินโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของ
ประชาชนให้ทันการณ์แล้วนั้น ย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน
ตามหลักการปกครองตนเองของชุมชนท้องถิ่นแต่อย่างใด ในทางกลับกัน
หากเทศบาลขาดแคลนสภาพคล่องหรือมีเงินสะสมที่จำกัดแล้วนั้น อาจส่ง
ผลให้การจัดบริการเกิดการสะดุดหรือขาดตอนลงได้ ความเป็นไปได้ทั้ง
2 ประการดังกล่าวย่อมไม่เป็นผลดีต่อการปกครองตนเองของท้องถิ่นและ
สะท้อนถึงความจำเป็นที่ผู้บริหารท้องถิ่นจะต้องสร้างสมดุลในการบริหารการ
เงินการคลังขององค์กรโดยการรักษาสภาพคล่องทางการเงินให้อยู่ในระดับที่
เหมาะสมและเพียงพอสำหรับการจัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชน
ได้อย่างรอบด้าน
นอกจากนี้ บทวิเคราะห์จากกรณีตัวอย่างช่วยยืนยันได้ว่ากรอบการ
วิเคราะห์ฐานะทางการเงินทั้ง 4 มิติดังที่ได้นำเสนอไว้เป็นกรอบวิเคราะห์ที่
สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง ช่วยชี้แนะประเด็นทางการบริหารสำหรับ
การสืบเสาะค้นหาข้อจำกัดทางการบริหารการเงินและการงบประมาณที่อาจ
เกิดขึ้นในองค์กร และสามารถนำไปสู่ข้อเสนอแนะที่สำคัญสำหรับการเสริม
สร้างศักยภาพทางการเงินของท้องถิ่นในด้านต่างๆ การวิเคราะห์ฐานะ
ทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 4 มิติจึงน่าจะเป็นเครื่องมือ
สำหรับการบริหารงานท้องถิ่นที่มีความสำคัญมากขึ้นในยุคสมัยที่ประชาชน