Page 21 - kpi12626
P. 21

10 การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:


          คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
                      ด้วยเหตุนี้ การค้นหาแนวทางใหม่ๆ ในการวิเคราะห์ตีความและ
                ใช้ประโยชน์จากข้อมูลทางการเงินการบัญชีจึงมีความจำเป็นยิ่ง เพื่อให้การ

                บริหารงานท้องถิ่นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดภายใต้
                เงื่อนไขหรือข้อจำกัดต่างๆ กรอบวิเคราะห์และแนวทางการใช้ประโยชน์จาก
                ข้อมูลฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองท้องถิ่นดังที่หนังสือเล่มนี้นำเสนอ
                ไว้น่าจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถรับมือและจัดการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้
                ในจังหวะเวลาที่เหมาะสม ด้วยกลวิธีที่แยบคาย และมีเป้าหมายในการ

                ดำเนินการที่ชัดเจนมากขึ้นได้ต่อไป
                1.3 ที่มาของหนังสือเล่มนี้


                      หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นโดยใช้ข้อมูลจากงานวิจัยเรื่องการวิเคราะห์
                ผลการดำเนินงานด้านการเงินการคลังของเทศบาล ได้รับทุนวิจัยสนับสนุน
                จากวิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า ดำเนินการ

                ระหว่างเดือนมีนาคมถึงธันวาคม 2553 ข้อมูลที่ใช้มาจากสองส่วนที่สำคัญ
                ส่วนที่หนึ่งได้แก่ข้อมูลทางการเงินการบัญชี ซึ่งได้มาจากงบแสดงฐานะ
                ทางการเงินของเทศบาลในปีงบประมาณ 2552 เทศบัญญัติงบประมาณ
                รายจ่าย และหมายเหตุประกอบงบการเงิน ข้อมูลส่วนที่สองได้แก่ข้อมูล
                เกี่ยวกับสภาพพื้นฐานของชุมชน ข้อมูลเกี่ยวกับบริการสาธารณะที่เทศบาล

                แต่ละแห่งจัดให้มีขึ้น และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารของเทศบาลและ
                ผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับการประเมินฐานะทางการเงินของเทศบาล

                      ข้อมูลทางการเงินการบัญชีของเทศบาลได้มาจากการสำรวจทาง
                ไปรษณีย์ (mail survey) จากเทศบาลจำนวน 972 แห่ง (คิดเป็นประมาณ
                ร้อยละ 48.4 ของเทศบาลทั้งหมด 2,008 แห่ง) แบ่งออกเป็นเทศบาลนคร
                จำนวน 12 แห่ง เทศบาลเมืองจำนวน 88 แห่ง และเทศบาลตำบล 872 แห่ง

                นอกจากนี้ เทศบาลกลุ่มตัวอย่างที่ได้สำรวจมีขนาดประชากร พื้นที่การ
                ปกครอง และขนาดของงบประมาณรายจ่ายที่แตกต่างกัน และมีการกระจาย
                ตัวในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ดังมีรายละเอียดแสดงในตารางที่ 1-1
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26