Page 174 - kpi12626
P. 174

การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:    1 3

                  ภาคผนวก 2

                  การสร้างดัชนีชี้วัดฐานะทางการเงินรวม

                  และการจัดลำดับควอไทล์ค่าดัชนีรวม
                  ในระดับจังหวัด


                        เนื่องจากอัตราส่วนทางการเงินแต่ละตัวดังที่ได้นำเสนอในบทที่ 3     คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่

                  ถึง 6 มีหน่วยนับและการตีความหมายที่แตกต่างกัน อาทิ อัตราส่วน
                  ทุนหมุนเวียนมีหน่วยเป็นเท่าของหนี้สินหมุนเวียน ระดับเงินสะสมต่อ
                  งบประมาณรายจ่ายมีหน่วยเป็นค่าร้อยละ หรือมูลค่าสินทรัพย์ถาวร
                  ต่อประชากรมีหน่วยเป็นบาท เป็นต้น การที่อัตราส่วนทางการเงินแต่ละตัว
                  มีหน่วยต่างกันส่งผลให้การนำค่าอัตราส่วนแต่ละตัวมาพิจารณาเปรียบเทียบ
                  หรือนับรวมเข้าด้วยกันจึงไม่สามารถกระทำได้อย่างตรงไปตรงมา ด้วยเหตุนี้
                  จึงมีความจำเป็นที่จะต้องแปลงค่าอัตราส่วนเหล่านี้ให้อยู่ในฐานเดียวกันใน

                  รูปของค่าดัชนี (unit-free index value) ก่อนในลำดับแรก ต่อมาจึงนำมาหา
                  ค่าเฉลี่ยของดัชนีรวมทั้ง 4 มิติ แล้วจึงนำค่าเฉลี่ยของดัชนีรวมในแต่ละมิติ
                  มาจัดเรียงลำดับควอไทล์ (quartile rank) เพื่อให้สามารถมองเห็นภาพรวม
                  ฐานะทางการเงินของเทศบาลในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศได้ชัดเจน

                        ดัชนีอัตราส่วนทางการเงินสร้างขึ้นจากหลักการในการจัดลำดับข้อมูล
                  จากข้อมูลที่มีค่าต่ำไปหาค่าสูงหรือจากค่าสูงไปหาค่าต่ำ เพื่อให้เกิดการ

                  เปรียบเทียบค่าสูงต่ำในเชิงสัมพัทธ์ (relative) ภายในชุดของข้อมูลที่อยู่ใน
                  ความสนใจ ในการสร้างค่าดัชนีครั้งนี้กำหนดให้มีค่าอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1 โดย
                  ถ้าหากค่าดัชนีของอัตราส่วนทางการเงินของเทศบาลแห่งหนึ่งมีค่าเท่ากับ 0
                  หมายความว่าเทศบาลแห่งนั้นๆ มีค่าอัตราส่วนทางการเงินนั้นในลำดับ
                  ต่ำที่สุด (หรือมีค่าน้อยที่สุด) เมื่อเทียบกับค่าอัตราส่วนทางการเงินของ

                  เทศบาลแห่งอื่นๆ ในกลุ่มตัวอย่าง ในทางกลับกัน หากค่าดัชนีของอัตราส่วน
                  ทางการเงินของเทศบาลแห่งหนึ่งที่มีค่าเท่ากับ 1 หมายความว่าค่าอัตราส่วน
                  ทางการเงินของเทศบาลแห่งนั้นอยู่ในลำดับสูงที่สุด (หรือมีค่าสูงที่สุด)
                  เมื่อเทียบกับเทศบาลกลุ่มตัวอย่าง
   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179