Page 42 - kpi12626
P. 42

การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:    31



                  2.6 การประยุกต์ใช้กรอบการวิเคราะห์
                        ฐานะทางการเงินในทางปฏิบัติ


                        ในการนำกรอบวิเคราะห์และดัชนีชี้วัดทางการเงินด้านต่างๆ ดังที่ได้
                  นำเสนอข้างต้นไปใช้ในทางปฏิบัติมีขั้นตอนที่สำคัญในการประมวลผลและ
                  การวิเคราะห์ข้อมูล 5 ขั้นตอนดังต่อไปนี้                               คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่

                        ขั้นตอนแรก ได้แก่การจัดเตรียมข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ ประกอบ

                  ไปด้วย (1) ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับบริบทของชุมชน (2) ข้อมูลเกี่ยวกับการจัด
                  บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ต้องการวิเคราะห์
                  (3) ข้อมูลงบประมาณรายรับรายจ่ายประจำปี และ (4) ข้อมูลจากรายงาน
                  ทางการเงินการบัญชีและงบแสดงฐานะทางการเงิน (พร้อมหมายเหตุ
                  ประกอบงบการเงิน) ในการนี้อาจจัดเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับแนวนโยบายหรือ

                  ระเบียบปฏิบัติในอดีตและปัจจุบันเกี่ยวกับการบริหารการเงินการคลังและ
                  แผนการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไว้สำหรับการวิเคราะห์
                  ข้อมูลในเชิงลึกไปได้พร้อมๆ กัน

                        ขั้นตอนต่อมา ได้แก่การคำนวณข้อมูลอย่างง่ายตามตัวชี้วัดทาง
                  การเงินด้านต่างๆ ทั้ง 17 ตัว (ลองพิจารณาใช้แบบฟอร์มที่จะนำเสนอใน
                  เนื้อหาบทต่อๆ ไป) ซึ่งอาจทำได้โดยใช้ข้อมูลเพียงปีเดียวสำหรับวิเคราะห์
                  เปรียบเทียบกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ ที่มีขนาดและ/หรือขอบเขต

                  ภารกิจใกล้เคียงกัน วิธีการนี้เรียกว่า Cross-Sectional Comparative Analysis
                  หรืออาจทำได้โดยใช้ข้อมูลย้อนหลังหลายปี อาทิ 3-5 ปี ฯลฯ เพื่อวิเคราะห์
                  การเปลี่ยนแปลงในฐานะทางการเงินขององค์กรแห่งหนึ่ง วิธีการนี้เรียกว่า
                  Time-Series Analysis ทั้งนี้ ผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจจัดให้
                  มีการวิเคราะห์ทั้ง 2 วิธีไปพร้อมๆ กันได้ และการดำเนินการในขั้นตอนนี้
                  สามารถมอบหมายให้แก่บุคลากรของฝ่ายการคลังรับผิดชอบได้


                        ขั้นตอนที่สาม ได้แก่การวิเคราะห์ข้อมูลฐานะทางการเงินที่สะท้อน
                  จากค่าดัชนีชี้วัดต่างๆ เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของกลุ่มอ้างอิง
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47