Page 39 - kpi12626
P. 39
2 การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:
คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
การพัฒนาเมืองให้มีความเจริญเติบโตได้อย่างยั่งยืน ในท้ายที่สุด ดัชนีชี้วัด
4
ความยั่งยืนทางการเงินในระยะยาวของท้องถิ่นอาจให้ความหมายที่ดีเกิน
กว่าความเป็นจริงได้นั่นเอง
2.5 การวิเคราะห์ความเพียงพอของการให้บริการ
สาธารณะ (Service-Level Solvency)
การประเมินว่าองค์กรปกครองท้องถิ่นจัดบริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน
อย่างเพียงพอหรือไม่นั้นเป็นประเด็นที่มีความสำคัญยิ่ง หากท้องถิ่น
มุ่งประหยัดค่าใช้จ่ายโดยการปรับลดปริมาณหรือคุณภาพของการให้บริการ
ลงเพื่อให้สภาพคล่องทางการเงินทั้งในระยะสั้นและระยะยาวดีขึ้นแล้วนั้น
ย่อมไม่เกิดประโยชน์อันใดต่อประชาชนในชุมชน ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้อง
นำเอาการประเมินความเพียงพอของการให้บริการสาธารณะมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการวิเคราะห์ฐานะทางการเงินของท้องถิ่น ดังมีตัวชี้วัดต่อไปนี้
ตารางที่ 2-4 ดัชนีชี้วัดสำหรับการวิเคราะห์ความเพียงพอในการให้
บริการ
ดัชนีชี้วัด วิธีการคำนวณ ความหมาย
1. มูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินของท้องถิ่น การที่ท้องถิ่นมีทรัพย์สินและการลงทุนใน
ถาวรต่อประชากร ต่อประชากร หรือ Total อุปกรณ์ เครื่องมือ และโครงสร้างพื้นฐาน
(Fixed Assets Per Assets / Population ต่าง ๆ ในปริมาณที่เหมาะสมย่อมสะท้อนถึง
Capita) ขีดความสามารถในการให้บริการประชาชน
ถ้าหากท้องถิ่นไม่สามารถรักษาระดับการ
ลงทุนในทรัพย์สินที่จำเป็นสำหรับการให้
บริการแล้ว ย่อมเป็นการบ่อนทำลายโอกาส
ในการให้บริการประชาชนและในการพัฒนา
เมืองให้เจริญเติบโตได้อย่างยั่งยืน
4 อ่านคำอธิบายเพิ่มเติมในประเด็นนี้ได้จาก จรัส สุวรรณมาลา (2541), ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์
(2551), วีระศักดิ์ เครือเทพ (2551ก), สกนธ์ วรัญญูวัฒนา (2553), และ Krueathep (2010a,
2010b) เป็นต้น