Page 40 - kpi12626
P. 40

การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:    2



                      ดัชนีชี้วัด    วิธีการคำนวณ              ความหมาย
                   2. ภาระภาษีท้องถิ่น รายได้จากภาษีอากรท้องถิ่น ระดับภาษีท้องถิ่นสะท้อนให้เห็นว่าท้องถิ่นใช้
                   ต่อประชากร (Local  ต่อจำนวนประชากร หรือ   ความพยายามในการจัดเก็บภาษีเพื่อนำไป
                   Tax Per Capita)   Total Taxes / Population   ใช้ในการจัดบริการมากน้อยเท่าใด ค่าดัชนีที่
                                                     สูงสะท้อนถึงความพยายามในการจัดเก็บ
                                                     ภาษีท้องถิ่นและโอกาสในการเพิ่มรายจ่าย
                                                     เพื่อการจัดบริการให้แก่ประชาชนได้มากขึ้น   คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
                   3. ระดับรายจ่าย  รายจ่ายรวมของท้องถิ่นต่อ  ระดับรายจ่ายบ่งบอกถึงปริมาณสินค้าและ
                   ท้องถิ่นต่อประชากร  จำนวนประชากร หรือ Total  บริการที่ท้องถิ่นจัดให้แก่ประชาชน ทั้งนี้
                   (Spending Per   Expenditures / Population    รายจ่ายในระดับสูงสื่อได้ว่าบริการที่ท้องถิ่น
                   Capita)                           จัดให้อยู่ในระดับสูงตามไปด้วย โดยมี
                                                     สมมติฐานว่าบริการที่ท้องถิ่นจัดให้แก่
                                                     ประชาชนมีคุณภาพที่เทียบได้กับบริการ
                                                     ที่ท้องถิ่นอื่น ๆ จัดให้
                   4. จำนวนประชากร จำนวนประชากรต่อจำนวน  เป็นการประเมินว่าพนักงานท้องถิ่นคนหนึ่ง
                   ต่อพนักงานให้  พนักงานของท้องถิ่นที่จ้าง  สามารถให้บริการแก่ประชาชนได้ทั่วถึงเพียง
                   บริการ (Service   เต็มเวลา หรือ Population /   ใด การมีค่าดัชนีในระดับต่ำ หมายความว่า
                   Capability Per   FTE Employees    พนักงานท้องถิ่น 1 คนมีประชาชนที่ต้องดูแล
                   Employee)                         ไม่มากนัก จึงหมายความว่าการให้บริการ
                                                     ของท้องถิ่นครอบคลุมประชาชนได้อย่าง
                                                     กว้างขวางมากขึ้น

                        อนึ่ง พึงระลึกว่าดัชนีวัดระดับความเพียงพอในการจัดบริการ
                  สาธารณะยังมีข้อจำกัดพอสมควร จึงจำเป็นต้องตีความด้วยความ
                  ระมัดระวัง ในประเด็นแรก การบันทึกมูลค่าสินทรัพย์ถาวรขององค์กร

                  ปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยยังมิได้เป็นไปตามหลักการบัญชีสากลทั่วไป
                  (generally accepted accounting principles: GAAP) สินทรัพย์ถาวรหลาย
                  รายการมิได้บันทึกมูลค่าไว้ (อาทิ ถนน รางระบายน้ำ ฯลฯ) อีกทั้งมิได้มีการ
                  หักค่าเสื่อมราคา (depreciation) ตัวเลขมูลค่าสินทรัพย์ถาวรของท้องถิ่น
                  จึงเป็นราคาในวันที่ได้มา มิใช่มูลค่าปัจจุบันในทางบัญชีแต่ประการใด
                                                                                 5

                      5   ในกรณีเช่นนี้ การประเมินมูลค่าทรัพย์สินถาวรอาจคิดเป็นค่าเฉลี่ยต่อปีที่มีการจัดตั้ง
                  ท้องถิ่น มิเช่นนั้นแล้วมีแนวโน้มที่ท้องถิ่นที่จัดตั้งมาเป็นเวลานานจะมีมูลค่าทรัพย์สินที่สูงกว่า
                  ท้องถิ่นที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ และส่งผลให้เกิดการคลาดเคลื่อนในการตีความได้
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45