Page 38 - kpi12626
P. 38
การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: 2
ดัชนีชี้วัด วิธีการคำนวณ ความหมาย
4. ภาระหนี้ระยะ ภาระหนี้ระยะยาวต่อ ประเมินภาระหนี้ระยะยาวของท้องถิ่นต่อ
ยาวต่อประชากร ประชากร หรือ Long-Term ประชากร หากมีขนาดของหนี้ต่อประชากร
(Long-Term Debt Debts / City Population ในสัดส่วนสูง สะท้อนให้เห็นถึงข้อจำกัดด้าน
Per Capita) สภาพคล่องทางการเงินและความตึงตัวของ
การจัดทำงบประมาณในอนาคต และย่อม
หมายความว่าขีดความสามารถในการก่อหนี้ คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
เพื่อการลงทุนในอนาคตน้อยลงไปด้วย
5. ระดับรายจ่ายเพื่อ รายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ต่อ เป็นการประเมินสัดส่วนของงบประมาณ
การชำระหนี้ (Debt รายจ่ายรวมของท้องถิ่น หรือ เพื่อการชำระหนี้ระยะยาว (รวมดอกเบี้ย)
Services Ratio) Debt Service / Total Local ต่องบประมาณรายจ่ายทั้งหมดของท้องถิ่น
Expenditures ค่าดัชนีที่สูงบ่งชี้ว่าท้องถิ่นมีรายจ่ายเพื่อการ
ชำระหนี้สูง และส่งผลให้งบประมาณสำหรับ
การจัดบริการในด้านอื่น ๆ ลดน้อยลง และ
อาจส่งผลต่อเนื่องให้เกิดความตึงตัวทางด้าน
งบประมาณเพิ่มมากขึ้น
พึงสังเกตว่าการตีความหมายจากการวิเคราะห์ความยั่งยืนทางการ
เงินในระยะยาวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเมื่อค่าดัชนีภาระหนี้ระยะ
ยาวอยู่ในระดับต่ำอาจมีขึ้นได้ใน 2 ลักษณะซึ่งจำเป็นต้องพิจารณาไปควบคู่
กัน ในด้านหนึ่ง ค่าดัชนีที่ต่ำอาจสะท้อนให้เห็นถึงขีดความสามารถในการ
ก่อหนี้เพื่อการลงทุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (debt financing) เพิ่มขึ้น
ได้ในอนาคต อย่างไรก็ดี ในอีกด้านหนึ่ง การมีค่าดัชนีภาระหนี้ระยะยาวใน
ระดับที่ต่ำอาจมิได้หมายความว่าท้องถิ่นมีความประสงค์ที่จะก่อหนี้ (โดย
การระดมเงินผ่านตลาดเงินหรือตลาดทุน) เพื่อการลงทุนพัฒนาโครงการ
ต่างๆ มากนัก ทั้งนี้เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่มักมี
ทัศนคติทางการคลังแบบอนุรักษ์นิยม ไม่นิยมการก่อหนี้ระยะยาวเพื่อการ
ลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น แต่มักใช้วิธีการขอรับเงินอุดหนุน
จากรัฐบาลหรือส่วนราชการทดแทน ในกรณีเช่นนี้ ภาระหนี้ระยะยาวของ
ท้องถิ่นจึงอาจต่ำกว่าระดับที่ควรจะเป็นเมื่อเปรียบเทียบกับความจำเป็นใน