Page 41 - kpi12626
P. 41
30 การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:
คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
ในประเด็นต่อมา การประเมินจำนวนประชากรต่อพนักงานท้องถิ่นมีข้อ
จำกัดเช่นกันในประเด็นที่ว่าพนักงานท้องถิ่นแต่ละคนมิได้มีภารกิจหลักใน
การให้บริการโดยตรงทั้งนี้เนื่องจากพนักงานจำนวนหนึ่งปฏิบัติงานในสาย
สนับสนุน (back-office) การที่ท้องถิ่นแห่งหนึ่งๆ มีจำนวนพนักงานต่อ
ประชากรที่สูงกว่าอาจมิได้หมายความว่าท้องถิ่นแห่งนั้นสามารถให้บริการ
แก่ประชาชนได้ทั่วถึงกว่าก็เป็นได้
ประเด็นสุดท้าย การพิจารณาความเพียงพอของการให้บริการ
สาธารณะจากระดับรายจ่ายรวมของท้องถิ่นต่อประชากรมองข้ามข้อเท็จจริง
ที่ว่าตัวเลขดังกล่าวมิได้สื่อถึงคุณภาพและ/หรือปริมาณของการให้บริการ
อย่างตรงไปตรงมา และมองข้ามถึงความยากง่ายหรือต้นทุนในการจัด
บริการสาธารณะของชุมชนท้องถิ่นแต่ละแห่งแต่ละพื้นที่ที่มีความแตกต่างกัน
พอสมควร ด้วยเหตุนี้ ตัวเลขรายจ่ายที่สูงจึงอาจมิได้หมายความว่าองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งนั้นๆ ให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างเพียงพอ
มากกว่าท้องถิ่นที่มีรายจ่ายต่อประชากรในระดับที่ต่ำกว่าก็เป็นได้
อย่างไรก็ดี แม้ว่าดัชนีชี้วัดความเพียงพอของการให้บริการสาธารณะ
จะมีข้อจำกัดต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น โดยเฉพาะเมื่อเวลาที่นำมาประยุกต์ใช้
ในทางปฏิบัติที่ต้องการสำรวจเปรียบเทียบความเพียงพอของการให้บริการ
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่งในเชิงกว้าง (cross-sectional
comparison) แต่ดัชนีชี้วัดเหล่านี้มักเป็นที่นิยมใช้ มิได้มีความซับซ้อนในการ
คำนวณ และสามารถให้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือได้ในระดับหนึ่ง จึงสามารถ
นำมาประยุกต์ใช้ในบริบทการปกครองท้องถิ่นไทยได้ในขั้นต้นในระหว่างที่ยัง
ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินความเพียงพอของการให้บริการสาธารณะ
ของท้องถิ่นที่สมบูรณ์กว่านี้ ในอนาคตจำเป็นต้องมีการพัฒนาข้อมูลและ
ดัชนีชี้วัดความเพียงพอของการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มี
ความน่าเชื่อถือมากขึ้นต่อไป