Page 55 - kpi12626
P. 55

การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:


          คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
                      ในทำนองเดียวกัน เมื่อเทศบาลมีขนาดงบประมาณรายจ่ายมากขึ้น
                โดยเฉพาะเมื่อมีงบประมาณสูงกว่า 150 ล้านบาทต่อปี มีแนวโน้มที่เทศบาล

                จะดำเนินภารกิจต่างๆ อย่างกว้างขวาง ต้องบริหารกระแสเงินสดขององค์กร
                ให้ทันกับความจำเป็นเร่งด่วนในการเบิกจ่ายงบประมาณ จนในที่สุดส่งผล
                ทำให้สภาพคล่องทางการเงินในระยะสั้นขององค์กรลดลงต่ำกว่าเทศบาล
                ขนาดกลางและเล็กทั่วไป ซึ่งเราสามารถพิจารณาได้จากตัวชี้วัดสภาพคล่อง
                ทางการเงินในระยะสั้นทั้งสองตัวและจากระดับหนี้สินหมุนเวียนของเทศบาล

                ขนาดใหญ่ (มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ—F-stat = 3.628,
                p< .01; F-stat = 3.759, p< .01; และ F-stat = 33.929, p < .01 ตามลำดับ)

                      ในประเด็นสุดท้าย หากพิจารณาสภาพคล่องทางการเงินของเทศบาล
                จำแนกตามขอบเขตภารกิจการให้บริการสาธารณะ  ผลการวิเคราะห์พบว่า
                                                           7
                เทศบาลที่จัดบริการสาธารณะเพิ่มเติมมากกว่าบริการพื้นฐานของเทศบาล
                ตามที่กฎหมายกำหนด มักมีสภาพคล่องทางการเงินในระยะสั้นที่ต่ำกว่า

                เทศบาลทั่วไป (ค่าเฉลี่ยของอัตราส่วนทุนหมุนเวียนและค่าเฉลี่ยอัตราส่วน
                เงินสดของเทศบาลขนาดต่างๆ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง
                สถิติ—F-stat = 7.265, p< .001 และ F-stat = 7.519, p< .001 ตามลำดับ) ซึ่ง
                มีความสอดคล้องกับบทวิเคราะห์ข้างต้นว่าหากเทศบาลมีความจำเป็นที่จะ


                   7    ผู้เขียนจำแนกขอบเขตภารกิจบริการสาธารณะของเทศบาลจากหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
                      1. เทศบาลที่ดำเนินภารกิจพื้นฐานขั้นต่ำ (baseline service function) ได้แก่ เทศบาล
                ที่ดำเนินภารกิจพื้นฐานดังที่แสดงในตารางที่ 1-2 ข้างต้นระหว่าง 1 ถึง 4 ด้าน (จากทั้งหมด
                7 ด้านหลัก) มีจำนวน 628 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 64.6 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด
                      2. เทศบาลที่ดำเนินภารกิจพื้นฐานแบบรอบด้าน (comprehensive core service
                function) ได้แก่ เทศบาลที่ดำเนินภารกิจพื้นฐานดังที่แสดงในตารางที่ 1-2 ข้างต้นตั้งแต่ 5 ด้าน
                ขึ้นไป (จากทั้งหมด 7 ด้านหลัก) มีจำนวน 344 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 35.4 ของกลุ่มตัวอย่าง
                ทั้งหมด
                      3. เทศบาลที่ดำเนินภารกิจเพิ่มเติม (auxiliary service function) ได้แก่ เทศบาลที่ดำเนิน
                ภารกิจเพิ่มเติมตั้งแต่ 3 ด้านขึ้นไป (จากทั้งหมด 6 ด้านหลัก) ดังที่แสดงในตารางที่ 1-2 ข้างต้น
                มีจำนวน 81 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 8.3 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60