Page 60 - kpi12626
P. 60

การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:


                  ข้อจำกัดทางด้านสภาพคล่องขึ้น และหากพบว่าเทศบาลเหล่านี้ควรได้รับ
                  ความช่วยเหลือก็จะต้องดำเนินการเป็นการเฉพาะ (ในกรณีเช่นนี้คือบริเวณ

                  ภาคอีสานตอนกลาง) โดยอาจอยู่ในรูปของการเร่งรัดการจัดสรรเงินภาษีและ
                  เงินอุดหนุนให้แก่เทศบาลในพื้นที่จังหวัดที่ประสบปัญหาสภาพคล่องเหล่านี้
                  การจัดหาเงินทุนสำรองเพื่อเสริมสภาพคล่องระยะสั้น หรือการให้ความ
                  ช่วยเหลือทางด้านเทคนิควิชาการสำหรับการเสริมสภาพคล่องในการ             คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
                  เบิกจ่ายเงินงบประมาณให้แก่เทศบาลในกลุ่มนี้ได้อย่างเหมาะสมต่อไป

                  3.4 บทสรุปและข้อเสนอแนะ

                        ในการเสริมสภาพคล่องทางการเงิน

                        กล่าวโดยสรุป การวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงินในระยะสั้น

                  มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการประเมินว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประสบ
                  ปัญหาหรือมีข้อติดขัดในการบริหารสภาพคล่องในการดำเนินภารกิจประจำวัน
                  มากน้อยเพียงใด และสามารถบริหารเงินสดในมือเพื่อการชำระภาระหนี้
                  ผูกพันในระยะสั้นได้หรือไม่ โดยมีดัชนีชี้วัดทางการเงินที่สำคัญใน 4 ด้าน
                  ได้แก่ (1) อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (2) อัตราส่วนเงินสด (3) อัตราส่วนหนี้สิน

                  หมุนเวียน และ (4) สัดส่วนของลูกหนี้ภาษีท้องถิ่นเมื่อเปรียบเทียบกับขนาด
                  ของภาษีที่จัดเก็บเอง ซึ่งสามารถคำนวณได้จากข้อมูลรายงานทางการเงิน
                  การบัญชีที่องค์กรปกครองท้องถิ่นจัดทำขึ้นและรายงานต่อกรมส่งเสริม
                  การปกครองท้องถิ่นเป็นประจำอยู่แล้ว การประยุกต์ใช้เครื่องมือวิเคราะห์
                  ฐานะทางการเงินในด้านนี้จึงไม่น่าจะมีข้อจำกัดมากนัก ดังตัวอย่าง
                  การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้แสดงไว้แล้วในข้อเขียนที่ผ่านมา


                        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ดัชนีชี้วัดสภาพคล่องทางการเงินกับเทศบาล
                  กลุ่มตัวอย่างจำนวน 972 แห่งในปีงบประมาณ 2552 สะท้อนให้เห็นได้ว่า
                  เทศบาลกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีสภาพคล่องทางการเงินที่ดี มีค่าอัตราส่วน
                  ทุนหมุนเวียนและอัตราส่วนเงินสดโดยเฉลี่ยเท่ากับ 7.22 และ 7.12
                  ในปีงบประมาณ 2552 ตามลำดับ ระดับหนี้สินหมุนเวียนต่อรายรับรวมของ
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65