Page 61 - kpi12626
P. 61
0 การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:
คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
เทศบาลไม่สูงมากนัก (ร้อยละ 15.02 โดยเฉลี่ย) อีกทั้งการติดตามเร่งรัดจัด
เก็บลูกหนี้ภาษีท้องถิ่นอยู่ในระดับที่ดีในภาพรวม อัตราส่วนลูกหนี้ภาษีต่อ
รายได้ที่เทศบาลจัดเก็บเองอยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนัก (ร้อยละ 11.48)
จึงสามารถกล่าวได้ว่าเทศบาลกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความสามารถในการ
ใช้จ่ายเงินสดในระยะสั้นเพื่อการจัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนที่มี
ความคล่องตัวมากพอสมควร
อย่างไรก็ดี เมื่อเทศบาลกลุ่มตัวอย่างมีขอบเขตภารกิจในการให้
บริการสาธารณะกว้างขวางมากขึ้น อาทิ มีหน้าที่รับผิดชอบเพิ่มขึ้น มีงบ
ประมาณรายจ่ายสูงขึ้น หรือมีจำนวนประชากรที่ต้องดูแลรับผิดชอบมากขึ้น
ฯลฯ มักส่งผลให้เทศบาลมีความจำเป็นในการใช้จ่ายเงินงบประมาณมาก
กว่าการถือครองเงินสดหรือการฝากเงินไว้ที่ธนาคาร/สถาบันการเงินต่างๆ จึง
ส่งผลทำให้สภาพคล่องทางการเงินของเทศบาลเหล่านี้ลดน้อยลง นอกจากนี้
แล้ว ผลการวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงินของเทศบาลในภาพรวมของ
ประเทศชี้ให้เห็นว่าเทศบาลในบริเวณภาคอีสานตอนกลางมีแนวโน้มที่จะ
ประสบกับปัญหาความตึงตัวในการบริหารเงินสดเพื่อการชำระหนี้ในระยะ
สั้นและการดำเนินภารกิจประจำวันทั่วไปมากกว่าเทศบาลในพื้นที่จังหวัด
อื่นๆ
ความรู้ความเข้าใจหรือข้อมูลผลการวิเคราะห์ที่ได้รับจากการวิเคราะห์
สภาพคล่องทางการเงินในระยะสั้นสามารถนำไปใช้ในการกำหนดแนวทาง
การบริหารการเงินการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ
สำหรับหน่วยงานที่ทำหน้าที่ส่งเสริมและกำกับดูแลการปกครองท้องถิ่นได้
อย่างเฉพาะเจาะจงหลายประการ อาทิ ผลการวิเคราะห์กลุ่มตัวอย่างชี้ให้
เห็นว่าเทศบาลขนาดใหญ่ มีขนาดของงบประมาณจำนวนมาก มีขอบเขต
ภารกิจกว้างขวาง จำเป็นจะต้องบริหารสภาพคล่องทางการเงินให้มีความ
รัดกุมมากขึ้น ระมัดระวังเรื่องการเบิกจ่ายเงินและการก่อหนี้ผูกพันทั้งใน
ระยะสั้นและระยะยาว โดยเฉพาะถ้าหากมีโครงการหรือรายการผูกพันใดที่
ชะลอการดำเนินการหรือเลื่อนการเบิกจ่ายเงินออกไปได้ก็เป็นสิ่งที่ควร