Page 62 - kpi12626
P. 62
การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: 1
ดำเนินการ เพื่อประคับประคองสถานะทางการเงินขององค์กรเอาไว้สำหรับ
การใช้จ่ายในรายการที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการให้บริการประชาชน
มิเช่นนั้นการดำเนินงานในภาพรวมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจเกิด
การสะดุดลงเนื่องจากเงินสดขาดมือได้
ประเด็นที่น่าสนใจก็คือการศึกษาในครั้งนี้พบว่าเทศบาลที่มีที่ตั้งใน คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
บริเวณภาคอีสานตอนกลางมีแนวโน้มที่จะมีสภาพคล่องทางการเงินตึงตัว
กว่าเทศบาลในจังหวัดอื่นๆ โดยเฉลี่ย ในกรณีเช่นนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
อาทิ กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ฯลฯ อาจจัดให้มีการวิเคราะห์เพิ่ม
เติมว่าปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะเหตุใด เกิดจากปัจจัยทางด้านการ
กำหนดนโยบายและ/หรือแนวปฏิบัติในการบริหารการเงินและงบประมาณที่
ขาดความเหมาะสมหรือไม่อย่างใด หรือเกิดจากการสั่งการหรือการมอบ
นโยบายด้านการบริหารการเงินและงบประมาณที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์อันไม่พึง
ประสงค์ดังกล่าว ดังนี้เป็นต้น
นอกจากนี้ ในกรณีที่พบว่าองค์กรปกครองท้องถิ่นประสบปัญหา
ด้านสภาพคล่องทางการเงินอย่างรุนแรง หน่วยงานส่วนกลางอาจให้ความ
ช่วยเหลือเป็นการเฉพาะแก่องค์กรเหล่านั้น โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดจาก
ปัจจัยภายนอกที่ท้องถิ่นไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ
ต่างๆ เป็นต้น ส่งผลให้ท้องถิ่นต้องใช้ทรัพยากรทางการเงินเป็นจำนวนมาก
ในระยะสั้นเพื่อการฟื้นฟูความเสียหายต่างๆ ในกรณีเช่นนี้ หน่วยงาน
ส่วนกลางอาจจัดหาแหล่งเงินทุนฉุกเฉินเพื่อการฟื้นฟูสภาพคล่องทางการเงิน
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ตามความจำเป็น
ดังนั้น การกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาในการบริหารการเงินและ
สภาพคล่องที่สามารถกระทำขึ้นได้อย่างเหมาะสม ตรงประเด็น และจัดทำ
ขึ้นในช่วงเวลาที่เหมาะสมดังที่เนื้อหาในบทนี้ได้นำเสนอไว้แล้วนั้น ย่อมมี
ส่วนเกื้อหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถปฏิบัติงานได้อย่าง
ราบรื่น ซึ่งย่อมส่งผลดีต่อการจัดบริการของท้องถิ่นที่ไม่สะดุดหรือขาดตอน
ลงโดยไม่จำเป็นนั่นเอง