Page 59 - kpi12626
P. 59
การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:
คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
ข้อมูลจากแผนภาพที่ 3-1 และตารางที่ 3-3 ข้างต้นแสดงให้เห็นว่า
เทศบาลกลุ่มตัวอย่างในแต่ละจังหวัดโดยเฉลี่ยมีสภาพคล่องทางการเงินใน
ระยะสั้นที่เข้มแข็งมากน้อยแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่จังหวัดที่เทศบาลกลุ่ม
ตัวอย่างมีสภาพคล่องทางการเงินที่ตึงตัวมากที่สุด (ควอไทล์ที่ 1 ซึ่งมีค่า
ต่ำที่สุด) ดังเช่น ลำพูน อุทัยธานี มหาสารคาม หรือสตูล ฯลฯ ไปจนถึง
จังหวัดที่เทศบาลกลุ่มตัวอย่างโดยเฉลี่ยที่มีสภาพคล่องทางการเงินมากที่สุด
(ควอไทล์ที่ 4 ซึ่งมีค่าสูงที่สุด) อาทิ แพร่ อุบลราชธานี ฉะเชิงเทรา หรือ
ประจวบคีรีขันธ์ ฯลฯ
ข้อมูลจากแผนภาพที่ 3-1 สะท้อนถึงข้อเท็จจริงที่สำคัญประการหนึ่ง
เกี่ยวกับสภาพคล่องทางการเงินของเทศบาลโดยเฉลี่ย กล่าวคือเทศบาล
ในพื้นที่ตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสานตอนกลาง)
ส่วนมากมีสภาพคล่องทางการเงินที่ไม่ดีนัก (ส่วนใหญ่จัดอยู่ในควอไทล์
ที่ 1) จังหวัดเหล่านี้ได้แก่ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร
มุกดาหาร และอำนาจเจริญ ซึ่งหมายความว่าเทศบาลในกลุ่มจังหวัดเหล่านี้
โดยเฉลี่ยจะประสบกับปัญหาในการจัดเตรียมเงินสดเพื่อให้ทันใช้สำหรับการ
ดำเนินภารกิจประจำวันทั่วไปมากกว่าเทศบาลในพื้นที่จังหวัดอื่นๆ ในทาง
กลับกัน เทศบาลส่วนใหญ่ในบริเวณภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออก
จะมีสภาพคล่องทางการเงินในระดับที่สูงกว่าเทศบาลในภูมิภาคอื่นๆ ดังนี้
เป็นต้น
ข้อมูลจากการวิเคราะห์ข้างต้นน่าจะสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นที่
หน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลและส่งเสริมการทำงานของเทศบาลและ
ท้องถิ่นต่างๆ อาทิ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น คณะกรรมการ
การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น เข้าทำการ
วิเคราะห์เพื่อค้นหาสาเหตุของข้อจำกัดดังกล่าวร่วมกันในพื้นที่จังหวัดเหล่านี้
ว่าเกิดขึ้นเพราะปัจจัยบริบทแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ สังคม หรือประชากร
หรือเกิดขึ้นจากแนวปฏิบัติทางด้านการบริหารการเงินและงบประมาณที่
เทศบาลต่างๆ ในจังหวัดเหล่านี้ดำเนินการคล้ายคลึงกัน จนก่อให้เกิด