Page 66 - kpi12626
P. 66
4.1 หลักการพื้นฐาน
นอกจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องมีสภาพ
คล่องทางการเงินในระยะสั้นที่ดีแล้ว การมีความสามารถใน
การจัดทำงบประมาณรายจ่ายให้ไม่ขาดดุลก็มีความจำเป็น
เช่นกัน เพื่อเป็นหลักประกันว่าแผนงานและโครงการต่างๆ ที่
ท้องถิ่นได้จัดทำขึ้นในระหว่างปีงบประมาณจะสามารถดำเนิน
การได้จริงในทางปฏิบัติเพราะว่ามีทรัพยากรทางการเงินรองรับ
อย่างเพียงพอ การวิเคราะห์ความยั่งยืนทางงบประมาณจึงเป็น
องค์กรประกอบที่สำคัญด้านหนึ่งของการวิเคราะห์ฐานะ
ทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ความยั่งยืนทางงบประมาณ (budget solvency) หมายถึง
ความสามารถขององค์กรในการมีทรัพยากรที่เพียงพอสำหรับ
การบริหารงานและการจัดบริการสาธารณะตามที่ประชาชน
ต้องการภายในรอบปีงบประมาณ ซึ่งโดยทั่วไปมักจะประเมิน
9
จากดุลงบประมาณ (budgetary balance) การพึ่งพารายได้ที่
ท้องถิ่นจัดเก็บเอง (own-source revenue) และระดับเงินสะสม
(cash reserve) หากท้องถิ่นแห่งหนึ่งๆ มีดุลงบประมาณใน
ระดับที่ดี มีทรัพยากรเพียงพอสำหรับความต้องการด้าน
งบประมาณในช่วงเวลาหนึ่งๆ หรือมีระดับเงินสะสมเพียงพอ
สำหรับการใช้จ่ายเพื่อรับมือกับสภาวะวิกฤตหรือเหตุฉุกเฉิน
ต่างๆ (rainy day fund) แล้ว ย่อมเชื่อได้ว่าความต้องการของ
ประชาชนที่มีต่อบริการสาธารณะในระดับพื้นฐานจะได้รับการ
ตอบสนองอย่างเพียงพอและ/หรือไม่เกิดการสะดุดลงระหว่าง
ปีงบประมาณ
9 คำนิยามจาก Groves and Valente (1994) หน้า 1.