Page 67 - kpi12626
P. 67
การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:
คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
ดัชนีชี้วัดในด้านนี้ได้แก่ (1) อัตราส่วนการดำเนินงาน (Operating
Ratio) (2) อัตราส่วนของรายจ่ายที่มาจากภาษีท้องถิ่น (Own-Source Ratio)
(3) ระดับเงินสะสมต่อรายจ่ายรวมของท้องถิ่น (Fund Balance Ratio) และ
(4) อัตราการเปลี่ยนแปลงของเงินสะสม (Change in Fund Balance)
อัตราส่วนการดำเนินงาน (ตัวชี้วัดที่ 1) คือการพิจารณาจากดุลงบประมาณ
หากท้องถิ่นหนึ่งๆ มีดุลงบประมาณเป็นบวก สามารถตีความได้ว่าการเบิก
จ่ายงบประมาณทำได้คล่องตัว ไม่มีความตึงตัวทางการเงินเกิดขึ้นในระหว่างปี
และหมายความว่าท้องถิ่นอาจเพิ่มการใช้จ่ายเพื่อจัดบริการให้แก่ประชาชนได้
ในทำนองเดียวกัน การที่ท้องถิ่นมีสัดส่วนของรายจ่ายที่จัดเก็บมาจากภาษี
ภายในชุมชนเอง (ตัวชี้วัดที่ 2) ย่อมหมายถึงระดับการพึ่งพาตนเองทาง
การคลังที่สูง ซึ่งจะมีส่วนกระตุ้นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้จ่าย
ทรัพยากรเหล่านั้นด้วยความรับผิดชอบและตอบสนองต่อความต้องการของ
ประชาชนมากขึ้นได้
ในทางกลับกัน เงินสะสมจะช่วยสร้างหลักประกันทางการเงินว่าใน
ยามที่ท้องถิ่นประสบกับความผันผวนทางด้านรายได้ (รายได้ที่จัดเก็บได้จริง
ต่ำกว่าเป้าหมาย) หรือรายจ่าย (เกิดรายจ่ายฉุกเฉินที่มิได้จัดเตรียมไว้ล่วง
หน้า) จะยังคงมีเงินออมที่สามารถนำออกมาใช้จ่ายเพื่อบรรเทาความขัดสน
ทางการเงินเฉพาะหน้าได้ โดยที่ไม่ทำให้การจัดบริการสาธารณะประจำวัน
ได้รับผลกระทบมากนัก ดัชนีชี้วัดตัวที่ 3 และ 4 จะช่วยประเมินขีดความ
สามารถทางด้านเงินสะสมของท้องถิ่นแห่งต่างๆ ทั้งนี้ผู้บริหารต้องไม่ลืมว่า
เป้าหมายของการปกครองท้องถิ่นมิใช่การมีเงินสะสมเก็บไว้ในระดับสูงๆ แต่
มิได้นำเงินสะสมส่วนเกินออกไปใช้จ่ายเพื่อการจัดบริการแต่ประการใด
ประเด็นสำคัญในเรื่องนี้ก็คือการสร้างความสมดุลระหว่างการใช้จ่ายเพื่อการ
จัดบริการสาธารณะกับการมีเงินสะสมจำนวนไม่มากหรือน้อยจนเกินไป
จนเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเมืองและต่อการสร้างเสถียรภาพในการดำเนิน
งานขององค์กรปกครองท้องถิ่น