Page 71 - kpi12626
P. 71

0 การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:


          คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
                ฉุกเฉินขึ้น อาทิ ภัยธรรมชาติ โรคระบาด หรือภัยพิบัติต่างๆ ฯลฯ ท้องถิ่นจะ
                มีเงินสะสมสำหรับนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาฉุกเฉินเหล่านี้ได้อย่างเพียงพอ

                หรือไม่ เป็นต้น

                      ประเด็นคำถามในการบริหารงบประมาณและระดับเงินสะสมต่างๆ
                เช่นนี้ ย่อมมีส่วนช่วยนำไปสู่การเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางด้าน
                งบประมาณและฐานะทางการเงินขององค์กรได้ไม่มากก็น้อย ผู้บริหาร
                ท้องถิ่นจะได้เกิดความมั่นใจว่าการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนเกิดขึ้น
                อย่างเต็มศักยภาพทางการเงินและงบประมาณขององค์กรปกครองท้องถิ่น

                ที่มีอยู่ และในขณะเดียวกันก็สามารถมั่นใจได้ว่าองค์กรปกครองท้องถิ่น
                มีการจัดเตรียมกันชนทางการเงิน (financial buffer) สำหรับการรับมือกับ
                เหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆ อย่างเพียงพอโดยการเก็บรักษาเงินสะสมไว้ใน
                ปริมาณที่เหมาะสม สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นหน้าที่รับผิดชอบของผู้บริหารองค์กร
                ปกครองส่วนท้องถิ่นในยุคใหม่ที่จะต้องแปลงข้อมูลทางการเงินการบัญชีและ

                ข้อมูลงบประมาณไปสู่การกำหนดนโยบายบริหารงานท้องถิ่นที่เหมาะสม
                อันจะมีส่วนเกื้อหนุนต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนได้ต่อไป
                4.3 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความยั่งยืนทางงบประมาณ

                      ของเทศบาลไทย


                      เพื่อให้ผู้บริหารท้องถิ่นเข้าใจถึงการตีความหมายของผลการวิเคราะห์
                ฐานะทางการเงินในด้านความยั่งยืนทางงบประมาณได้อย่างชัดเจน ผู้เขียน
                จึงนำเสนอผลการวิเคราะห์ความยั่งยืนทางด้านงบประมาณของเทศบาล
                กลุ่มตัวอย่าง 972 แห่งในรายละเอียดโดยใช้ข้อมูลในปีงบประมาณ 2552

                พิจารณาจากข้อมูลในตารางที่ 4-2 ต่อไปนี้
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76