Page 68 - kpi12626
P. 68

การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:



                  4.2 วิธีการคำนวณและการวิเคราะห์ผล

                        วิธีการคำนวณดัชนีชี้วัดความยั่งยืนทางงบประมาณทั้ง 4 ประการ

                  พร้อมค่าอ้างอิงจากเทศบาลกลุ่มตัวอย่างในปีงบประมาณ 2552 แสดง
                  ดังตารางที่ 4-1 ต่อไปนี้ ทั้งนี้ค่าอ้างอิงของเทศบาลกลุ่มตัวอย่างแสดงเป็น
                  ช่วงใน 4 ลักษณะได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (mean) และค่าลำดับเปอร์เซ็นไทล์   คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
                  (percentile) ที่ลำดับร้อยละ 25, 50, และ 75 ตามลำดับ ผู้บริหารขององค์กร
                  ปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถเลือกใช้ค่าอ้างอิงที่ลำดับต่างๆ สำหรับการ

                  เปรียบเทียบกับความยั่งยืนทางงบประมาณขององค์กรตนเองได้ตามสมควร

                        เมื่อได้คำนวณค่าดัชนีชี้วัดความยั่งยืนทางงบประมาณในด้านต่างๆ
                  แล้ว ผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรประเมินว่าดุลงบประมาณ
                  สัดส่วนรายจ่ายที่จัดเก็บมาจากภาษีท้องถิ่นเอง และระดับเงินสะสมของ
                  องค์กรอยู่ในระดับที่น่าพอใจมากน้อยเพียงใดเมื่อเปรียบเทียบกับค่าอ้างอิง
                  ของเทศบาลกลุ่มตัวอย่างในปีงบประมาณ 2552 ยกตัวอย่างเช่น ค่าอ้างอิง

                  ของเทศบาลกลุ่มตัวอย่างชี้ให้เห็นว่าเทศบาลส่วนใหญ่ (ค่าเปอร์เซ็นไทล์ที่
                  50) มีดุลงบประมาณเป็นบวก โดยมีอัตราส่วนการดำเนินงานเท่ากับ 1.16
                  เท่า และมีเงินสะสมที่สามารถนำมาจ่ายขาดได้ (ไม่รวมทุนสำรองเงินสะสม)
                  ราวร้อยละ 26.7 ของขนาดงบประมาณรายจ่ายประจำปี หมายความว่า
                  เทศบาลส่วนใหญ่ยังคงมีรายรับรวมที่สูงกว่ารายจ่ายรวมราวร้อยละ 16 ของ
                  งบประมาณรายจ่าย และมีเงินสะสมที่สามารถนำออกมาใช้จ่ายในยาม
                  ฉุกเฉินได้ประมาณ 3.2 เดือน หากวิเคราะห์แล้วพบว่าองค์กรปกครองท้องถิ่น

                  แห่งหนึ่งมีระดับเงินสะสมและดุลงบประมาณที่สูงกว่าค่าอ้างอิงนี้ สามารถ
                  ตีความได้ว่าท้องถิ่นแห่งนี้มิได้มีข้อจำกัดทางด้านงบประมาณมากนัก
                  ในอนาคตอาจเพิ่มการใช้จ่ายเพื่อการจัดบริการได้มากขึ้นราวร้อยละ 16
                  โดยเฉลี่ย ซึ่งอาจดำเนินการได้โดยการเพิ่มจำนวนหรือประเภทโครงการ
                  ในการจัดบริการสาธารณะ เร่งรัดการดำเนินโครงการและการเบิกจ่าย

                  งบประมาณให้ได้ตามที่ได้รับการอนุมัติ และ/หรืออาจนำเงินสะสมบางส่วน
                  ออกมาใช้จ่ายเพื่อการจัดบริการเพิ่มขึ้นได้ ดังนี้เป็นต้น
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73