Page 70 - kpi12626
P. 70
การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:
ในทำนองเดียวกัน ค่าอ้างอิงจากเทศบาลกลุ่มตัวอย่างใน
ปีงบประมาณ 2552 ซึ่งเป็นช่วงที่ท้องถิ่นส่วนใหญ่เริ่มประสบกับปัญหา
วิกฤตเศรษฐกิจการคลัง (วิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์) เทศบาลมีสัดส่วนของ
ภาษีที่จัดเก็บเองได้โดยเฉลี่ยร้อยละ 4.30 ของงบประมาณรายจ่าย และมี
เงินสะสมเพิ่มขึ้นระหว่างปีงบประมาณราวร้อยละ 4.78 หากองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นของผู้บริหารมีสัดส่วนของรายจ่ายที่จัดเก็บจากภาษีท้องถิ่นหรือ คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
มีการเปลี่ยนแปลงในยอดเงินสะสมที่ต่ำกว่าค่าอ้างอิงนี้ ก็จำเป็นจะต้อง
วิเคราะห์หาสาเหตุว่าเป็นเพราะเหตุใด การบริหารงบประมาณในรอบปีที่
ผ่านมามีการใช้จ่ายใดที่สิ้นเปลืองหรือไม่จำเป็นหรือไม่ หรือมีการนำเงิน
สะสมออกไปใช้จ่ายมากเกินตัว หรือว่ามีปัญหาในการบริหารจัดเก็บภาษี
ท้องถิ่นหรือไม่อย่างไร
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการวิเคราะห์ความยั่งยืนทางงบประมาณจะช่วยให้
ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีข้อมูลที่สำคัญสำหรับนำไปใช้ในการ
บริหารงบประมาณและการวางแผนทางการเงินเพื่อการจัดบริการสาธารณะ
และเพื่อการสร้างความแข็งแกร่งให้กับฐานะทางการเงินขององค์กร
โดยสามารถพิจารณาได้ว่า (1) การเบิกจ่ายงบประมาณขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นเป็นไปตามแผนหรือไม่ หรือจะเร่งรัดการดำเนินโครงการต่างๆ
ตามที่ได้จัดทำไว้ในข้อบัญญัติหรือเทศบัญญัติงบประมาณได้อย่างไร และ
(2) ท้องถิ่นมีงบประมาณหรือเงินสะสมมากพอที่จะนำไปจัดบริการสาธารณะ
หรือพัฒนาโครงการลงทุนเพิ่มขึ้นได้หรือไม่ อย่างไร
ในทางกลับกัน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับฐานะทางการเงิน
ขององค์กร ผู้บริหารควรพิจารณาว่า (3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีเงิน
สะสมในระดับที่เหมาะสมหรือไม่ การเปลี่ยนแปลงขนาดของเงินสะสม
ในรอบปีงบประมาณเป็นเช่นใด หากขนาดของเงินสะสมมีน้อยเกินไป
(ไม่ควรต่ำกว่าระดับที่ระเบียบกระทรวงมหาดไทยกำหนด) จะดำเนิน
มาตรการเช่นใดในการเพิ่มเสถียรภาพทางการเงินขององค์กร ควรปรับลด
โครงการใช้จ่ายใดลงหรือไม่ ดังนี้เป็นต้น และ (4) ถ้าหากเกิดเหตุการณ์