Page 73 - kpi12626
P. 73

2 การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:


          คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
                      ในภาพรวมนั้น เทศบาลกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีทรัพยากรเพียงพอ
                สำหรับการจัดบริการสาธารณะในรอบปี โดยในปีงบประมาณ 2552 เทศบาล

                มีสัดส่วนรายรับรวมต่อรายจ่ายรวมระหว่าง 1.25 ต่อ 1 ถึง 1.41 ต่อ 1 หรือ
                หมายความว่าเทศบาลกลุ่มตัวอย่างโดยเฉลี่ยมีรายรับรวมสูงกว่ารายจ่าย
                รวมราวร้อยละ 25 ถึงร้อยละ 41 ในส่วนของการสร้างกันชนทางการเงิน
                (buffer) ในรูปของการเก็บเงินสะสมสำหรับใช้จ่ายในยามฉุกเฉินหรือเมื่อมี
                ความจำเป็นนั้น ข้อมูลในตารางชี้ว่าขนาดของเงินสะสมของเทศบาลโดย

                เฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพึงพอใจ กล่าวคือเทศบาลกลุ่มตัวอย่างมีเงินสะสมที่
                นำมาใช้จ่ายได้ราวร้อยละ 25.4 ถึง 39.0 ของรายจ่ายรวม หรือเทียบได้กับ
                                                            10
                รายจ่ายรวมของเทศบาลประมาณ 3.1 ถึง 4.7 เดือน  นอกจากนี้ ในช่วงต้น
                ปี 2552 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่วิกฤตเศรษฐกิจเกิดขึ้นทั่วโลกและส่งผลกระทบถึง
                เศรษฐกิจไทย เทศบาลกลุ่มตัวอย่างยังคงรักษาระดับเงินสะสมในระหว่าง
                ปีงบประมาณ 2552 ได้ดีพอสมควร โดยเฉลี่ยมีเงินสะสมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.78

                เมื่อเปรียบเทียบกับยอดเงินสะสมในวันต้นปีงบประมาณ 2552 (วันที่
                1 ตุลาคม 2552) อย่างไรก็ดี พึงสังเกตว่าเทศบาลขนาดใหญ่ดังเช่นเทศบาล
                นครมีระดับเงินสะสมเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยเพียงร้อยละ 0.1 เท่านั้น ซึ่งอาจเป็น
                เพราะเทศบาลขนาดใหญ่เหล่านี้จำเป็นต้องเร่งนำเงินสะสมออกมาใช้จ่าย
                เป็นจำนวนมากเพื่อประคับประคองมิให้บริการสาธารณะที่จัดให้แก่

                ประชาชนได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำก็เป็นได้

                      นอกจากนี้แล้ว เราสามารถพิจารณาจากตารางที่ 4-2 ได้ว่าเทศบาลที่
                มีขนาดแตกต่างกัน มีขอบเขตความรับผิดชอบต่างกัน หรือมีศักยภาพ
                ทางการเงินการคลังที่แตกต่างกัน จะมีความยั่งยืนทางงบประมาณในระดับ
                ที่แตกต่างกัน กล่าวคือเทศบาลนครมีขีดความสามารถในด้านงบประมาณ
                และการพึ่งพาตนเองทางการคลัง (fiscal independency) ในระดับที่สูงกว่า

                ค่าเฉลี่ย ซึ่งประเมินได้จากค่าอัตราส่วนการดำเนินงานเท่ากับ 1.41 และ

                   10    ในสหรัฐอเมริกา องค์กรปกครองท้องถิ่นมักนิยมเก็บเงินสำรองไว้ประมาณร้อยละ 5
                ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีเท่านั้น อ่านรายละเอียดได้จาก Joice (2001) หรือ Hou and
                Moynihan (2008)
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78