Page 38 - kpi15428
P. 38
ชุมชนกับสิทธิ ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตัวแบบเสรีนิยมตะวันตกมาใช้ ซึ่งเป็นการให้สิทธิกับรัฐและเอกชน โดยมี
แนวคิดหลัก 3 ประการได้แก่ แนวคิดสำนักกฎหมายบ้านเมืองที่ถือว่า
กฎหมายเป็นคำสั่งของผู้ปกครอง แนวคิดที่ให้อำนาจรัฐส่วนกลางอย่างเต็มที่
ในการตรากฎหมาย และแนวคิดที่ว่าการปรับใช้กฎหมายเป็นลายลักษณ์
อักษรโดยไม่คำนึงถึงวิถีชีวิตแบบเดิมของท้องถิ่น (บวรศักดิ์ อุวรรณโณ,
2536, น.84-85 อ้างใน คณะบุคคลโครงการสิทธิชุมชน, 2554, น.5-6)
ปัญหาสิทธิชุมชนในประเทศไทยโดยพื้นฐานก็มีลักษณะคล้ายกัน
กล่าวคือ ปัญหาสิทธิชุมชนสืบเนื่องมาจากการเกิดขึ้นของรัฐชาติที่มีอำนาจ
ในการควบคุมทรัพยากรทั้งหมดของประเทศ โดยใช้ความเป็นประชาธิปไตย
หรือมติมหาชนมาเบียดบังชุมชนที่มีความแตกต่างจากสังคมโดยรวม โดย
วิธีการต่างๆ เช่น การให้ข่าวสาร การจับกุม การใส่ร้ายป้ายสี เมื่อชุมชน
เหล่านี้กลายเป็นเหมือนผู้ร้ายในสังคมส่วนใหญ่ก็ทำให้รัฐมีความชอบธรรม
ในการเข้าไปควบคุมหรือดำเนินโครงการต่างๆในชุมชนเหล่านั้นได้ แม้กระทั่ง
การทำให้ให้ชุมชนนั้นต้องโยกย้ายออกจากถิ่นที่ตนอาศัยอยู่มาก่อนที่จะเกิด
รัฐ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นประเทศภาคีในกติกาสากล
ว่าด้วยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิทธิชุมชนจนมีบทบัญญัติบางประการในรัฐธรรมนูญ
พ.ศ.2540 ทำให้สิทธิชุมชนได้รับการคุ้มครองต่อการถูกละเมิดจากรัฐหรือ
การใช้อำนาจโดยไม่ชอบ แต่กระบวนการบังคับใช้หรือการทำให้เกิดการ
ยอมรับสิทธิชุมชนเป็นไปได้จริงจะต้องมีระยะเวลาในการพัฒนาต่อไป
เนื่องจากจะเห็นได้ว่า แม้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ที่ถือเป็น
จุดเริ่มต้นมาจนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ในปัจจุบัน
เป็นระยะเวลากว่า 10 ปีแล้ว แต่ประเด็นความขัดแย้งระหว่างรัฐและชุมชน
ยังคงมีปรากฏอยู่อย่างกว้างขวาง (กิตติศักดิ์ ปรกติ, 2550, น.86-89)
สิทธิชุมชนถือเป็นหนึ่งในประเด็นนโยบายสาธารณะที่หลากหลาย
ซึ่งส่งเสริมต่อสิทธิของชุมชนอันเป็นการยอมรับคุณค่าและความหลากหลาย
ในสังคม โดยสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้แก่ สิทธิ
0