Page 35 - kpi15428
P. 35

ชุมชนกับสิทธิ  ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม



                           - วิสาหกิจที่ทับซ้อนกัน มีการจัดสรร จัดหา ตรวจสอบ บังคับใช้

                             แก้ปัญหาความขัดแย้งและมีการกำกับดูแลในหลายลำดับชั้น

                       ตัวอย่างประเทศในแถบแอฟริกาใต้ในอดีต ชุมชนมีการพึ่งพา
                  ธรรมชาติและใช้ผืนดินเพื่อการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ จนกระทั่งเข้าสู่ยุค
                  อาณานิคมและหลังอาณานิคมได้เกิดการรวมศูนย์อำนาจในการจัดการที่ดิน
                  และทรัพยากรอย่างประเทศในแถบแอฟริกาใต้ตอนปลายทศวรรษ 1960

                  ประเทศซิมบับเวและนามิเบีย ได้นำนโยบายการจัดการสัตว์ป่าที่มีการ
                  ตกทอดความเป็นเจ้าของเพื่ออนุรักษ์สัตว์ป่า ซึ่งถือเป็นการปฏิรูปความเป็น
                  เจ้าของโดยรัฐไปสู่ตัวบุคคล จากอิทธิพลนี้ได้นำไปสู่การพัฒนาโครงการใน
                  ซิมบับเวที่เรียกว่า Communal Areas Program for Indigenous Resource

                  (CAMPFIRE) เพื่อถ่ายโอนอำนาจการบริหารจัดการสัตว์ป่าให้กับหน่วยงาน
                  ในส่วนท้องถิ่น (Nelson, 2010, p.9)

                       การยอมรับและรับรองสิทธิชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากร
                  ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ถือว่ามีความสอดคล้องกันกับหลักการจัดการ
                  ทรัพยากรธรรมชาติฐานชุมชน ซึ่งจะทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและ

                  สามารถบริหารจัดการทรัพยากรของตนเองได้ เพราะชุมชนจะใช้ทรัพยากร
                  ที่มีอยู่เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจของตนและชุมชน ในขณะเดียวกัน
                  ชุมชนก็ดูแลทรัพยากรไปด้วย ซึ่งหากไม่มีการส่งเสริมสิทธิชุมชน ก็จะทำให้
                  ชนชั้นนำในสังคมใช้อำนาจเข้าครอบครองบริหารจัดการทรัพยากรและชุมชน
                  นั้นก็จะหมดบทบาทและไร้ที่ทำกิน (Rihoy & Maguranyang, 2010) เมื่อ

                  สังคมพื้นฐานของประเทศไม่สามารถดำรงอยู่ได้ก็จะส่งผลต่อความยั่งยืนและ
                  มั่นคงของประเทศต่อไปในอนาคต













                                                                               7
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40