Page 37 - kpi15428
P. 37
ชุมชนกับสิทธิ ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ออกไป หรือกรณีการตัดไม้เพื่อประโยชน์ใช้สอยเมื่อประกาศอุทยานทำให้
ชาวบ้านไม่สามารถใช้ประโยชน์จากป่าไม้ได้อีก และความเป็นเจ้าของของ
ชุมชนถูกเปลี่ยนมือเป็นการให้สิทธิเด็ดขาดแก่นายทุนและกลุ่มผลประโยชน์
ที่เข้ามาเพราะภาครัฐเปิดทางให้ด้วยเหตุผลเรื่องความเจริญและการพัฒนา
แต่กลับกลายเป็นว่าการพัฒนาที่ว่านั้นไม่ได้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง มิหนำซ้ำ
ยังทำให้ทรัพยากรทางธรรมชาติลดน้อยลงและสิ่งแวดล้อมก็เสื่อมโทรม
ลงทุกขณะ (เลิศชาย ศิริชัย, 2546, น.406-407)
บทสรุปใจความเกี่ยวกับสิทธิชุมชน
ความขัดแย้งระหว่างมวลมนุษยชาติครั้งใหญ่ที่ถือเป็นความขัดแย้ง
ระดับโลก คือ สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สิ้นสุดลง แต่ความขัดแย้งใหม่ๆ
กลับเกิดขึ้นตามมาหลังจากนั้น คือ ความขัดแย้งระหว่างชนกลุ่มน้อย
และกลุ่มคนส่วนใหญ่ (National group) ด้วยเหตุที่ว่าคนกลุ่มน้อยมีภาษา
และวัฒนธรรมที่แตกต่างจากคนกลุ่มใหญ่ และนโยบายต่างๆ เช่น นโยบาย
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เอื้อประโยชน์แก่คนกลุ่มใหญ่
มากกว่า ซึ่งนักสังคมศาสตร์และนักรัฐศาสตร์เองต่างก็ยอมรับสิทธิของ
คนกลุ่มใหญ่ที่มีมากกว่า โดยดูได้จากทฤษฎีส่วนใหญ่ในโลกนี้เป็นทฤษฎีที่
สนับสนุนต่อสิทธิของคนกลุ่มใหญ่ เช่น ทฤษฎีเกี่ยวกับประชาธิปไตยที่เน้น
ให้สิทธิเสรีภาพแก่ปัจเจกบุคคลมากกว่าคนกลุ่มน้อย (Kymlicka, 2000,
pp.1-2) ด้วยเหตุดังกล่าว ทำให้เกิดสภาพปัญหาโดยรวมเกี่ยวกับสิทธิชุมชน
คือ รัฐขาดการรับรู้คุณค่าของชุมชนทำให้ภาครัฐไม่เข้าใจและไม่เข้าถึงสิทธิ
ชุมชน (ชลธิรา สัตยาวัฒนา, 2546, น.31)
สาเหตุหนึ่งที่ชุมชนไม่ได้รับการยอมรับเป็นเพราะกฎหมายไม่ได้ให้
สิทธิแก่ชุมชนไว้ จึงทำให้ชุมชนเหมือนกับไม่มีตัวตนในทางกฎหมาย ทั้งนี้
อาจเป็นไปได้ดังที่บวรศักดิ์ อุวรรณโณ กล่าวไว้ว่าระบบกฎหมายไทยรับเอา
9