Page 33 - kpi15428
P. 33
ชุมชนกับสิทธิ ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เพื่อทำให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน สำหรับรูปแบบการจัดการ
ทรัพยากรส่วนรวมโดยทั่วไปอาจแบ่งกว้างๆ 3 แนวทาง ได้แก่ การให้รัฐ
เป็นเจ้าของ (Nationalizations) การแปรรูปวิสาหกิจ (Privatizations) และ
ชุมชนร่วมกันจัดการทรัพย์สินส่วนรวม (Self-organized common
property) โดยแต่ละแนวทางมีการอธิบายไว้ ดังนี้
1. การให้รัฐเป็นเจ้าของส่วนใหญ่ (Nationalizations) คือ รัฐบาล
กลางควบคุมทรัพยากรส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งเป็นแนวคิดส่วนใหญ่
ในประเทศกำลังพัฒนา เพราะถือเป็นแนวทางที่ดีที่สุดที่จะปกป้องทรัพยากร
ของประเทศจาก “โศกนาฏกรรมของทรัพยากรส่วนรวม” อย่างไรก็ตาม
ปัญหาจากแนวคิดดังกล่าว คือ ทำให้เกิดการเวนคืนและขับชุมชนซึ่งใช้
ทรัพยากรออกจากพื้นที่ ซึ่งนำไปสู่ปัญหาการคอรัปชั่น
2. การแปรรูปวิสาหกิจ (Privatizations) คือ การแปรรูปทรัพยากร
ของรัฐให้เป็นของเอกชน ซึ่งเป็นแนวคิดที่นักวิชาการได้โต้แย้งเพราะการ
แปรรูปทรัพยากรส่วนรวมเป็นของปัจเจกชนจะต้องมีการแบ่งสรรทรัพยากร
ต่างๆ เช่น พื้นที่เลี้ยงสัตว์ (Grazing lands) หรือคลอง ซึ่งเป็นทรัพยากร
ที่ไม่สามารถแบ่งหรือไม่สามารถบังคับใช้ได้อย่างถูกต้อง
3. ชุมชนร่วมกันจัดการทรัพย์สินส่วนรวม (Self-organized common
property) เป็นแนวคิดของ Elinor Ostrom นักเศรษฐศาสตร์และนักสิ่งแวดล้อม
ผู้ได้รางวัลโนเบลปี ค.ศ.2009 เสนอขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดจากการให้รัฐ
เป็นเจ้าของส่วนใหญ่และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยการใช้ของส่วนรวมจะถูก
จำกัดโดยชุมชนหรือองค์กรที่ชุมชนจัดตั้งขึ้น เพื่อให้รัฐและชุมชนหลีกเลี่ยง
ความเสื่อมโทรมตามมา อธิบายโดยสรุปได้ว่า หากคนหนึ่งเป็นผู้ดูแลรักษาทรัพยากร แต่
อีกคนหนึ่งใช้โดยไม่ดูแลรักษาก็จะทำให้คนที่ดูแลรักษาไม่ต้องการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ
นั้นอีกต่อไป สุดท้ายก็จะไม่มีใครดูแลปกป้องทำให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายไปในที่สุด
เรียกว่า โศกนาฏกรรมของทรัพยากรส่วนรวม ดังนั้น การใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกต้อง
ทุกคนที่ใช้จะต้องมีหน้าที่ดูแลรักษาร่วมกัน.