Page 36 - kpi15428
P. 36

ชุมชนกับสิทธิ  ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม



              v ปัญหาสิทธิชุมชนในการบริหารจัดการ
                ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


                    สภาพสิทธิชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
              สิ่งแวดล้อม โดยภาพรวมมีดังนี้

                    1. สิทธิของชุมชนยังคงขาดกฎหมายเฉพาะ ทำให้การตีความ
              ขอบเขตการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ

              สิ่งแวดล้อมคลุมเครือ เพราะจะเกิดปัญหาว่าชุมชนจะสามารถใช้ บริหาร
              จัดการ บำรุงรักษา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้นได้มากน้อย
              เพียงใด (กิตติศักดิ์ ปรกติ, 2550, น.181)

                    2. ภาครัฐมีบทบาทแทนที่ชุมชน ในการบริหารจัดการทรัพยากร
              ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำให้ชุมชนไม่มีอำนาจในการบริหารจัดการ
              ดังเดิม ขณะที่ภาครัฐไม่อาจบริหารจัดการได้ทั่วถึง ยิ่งเป็นการเปิดโอกาสให้

              เกิดการลักลอบใช้ทรัพยากรอย่างควบคุมได้ยาก หรือในอีกกรณีหนึ่งคือ
              ภาครัฐออกกฎระเบียบห้ามคนในชุมชนที่อยู่มาก่อนใช้ทรัพยากรป่าไม้
              แต่กลับให้สัมปทานกับนายทุน ทำให้ชาวบ้านบางส่วนลักลอบตัดไม้บ้าง
              เพราะเห็นว่าตนมีสิทธิได้รับประโยชน์จากป่าไม้เช่นกัน เมื่อการบริหาร

              จัดการและรักษาทรัพยากรในชุมชนโดยยึดถือตามหลักประเพณีและ
              ความเชื่อของชุมชนไม่ได้รับการยอมรับจากภาครัฐ ทำให้ชุมชนต้องปรับ
              วิธีการที่เป็นทางการมากขึ้น เช่น คณะกรรมการป่าชุมชน เครือข่ายลุ่มน้ำ
              การออกกฎระเบียบข้อบังคับ เป็นต้น เพื่อให้ชุมชนมีสิทธิในการบริหาร

              จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง (ยศ สันตสมบัติ,
              2546, น.86-87)

                    3. การเอื้อประโยชน์ให้เฉพาะคนบางกลุ่ม
เริ่มจากรัฐชาติที่เกิดขึ้น
              ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ได้เบียดให้ชุมชนออกห่างจากการบริหารจัดการ
              ทรัพยากรในพื้นที่ตนเองมากขึ้น เช่น การปลูกบ้านเรือนที่ปักเสาลงทะเล

              เมื่อรัฐประกาศพื้นที่อุทยานชาวบ้านก็ไม่สามารถลงเสาเรือนและต้องอพยพ


               8
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41