Page 124 - kpi15476
P. 124
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 123
4. ตัวชี้วัดด้านปัญญาภาพ (Intellectual Indicator) ในเมตตสูตร อังคุตตรนิกาย
อัฏฐกนิบาต ได้กล่าวถึงคุณลักษณะสำคัญของพระราชาว่า การที่จะเอาชนะหมู่สัตว์ทั่วแผ่นดิน
ด้วยราชธรรมนั้น ผู้ปกครองจะต้องมีความเฉลียวฉลาดในการบริหารจัดการรัฐในประเด็นดังต่อ
ไปนี้
(1) สัสสเมธะ หมายถึง ความฉลาดในการสงเคราะห์พสกนิการด้วยการบำรุงพืชพันธุ์
ธัญญาหาร ส่งเสริมการเกษตร พระราชาหรือผู้ปกครอง มีการบำรุงบ้านเมืองให้
เจริญรุ่งเรืองทางด้านเศรษฐกิจให้มีภาวะเศรษฐกิจดีมีผลผลิตพืชพันธุ์สมบูรณ์ใน
การส่งเสริมอาชีพและการผลิตของประชาชนให้มีความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ
(2) ปุริสเมธะ หมายถึง ความฉลาดในการบำรุงข้าราชการ พระราชาหรือผู้ปกครอง
มีความเป็นผู้ฉลาดในการรับคนเข้ามารับราชการเพื่อมาทำหน้าที่ในการบริหารของ
รัฐรู้จักคัดเลือกคนและจัดสรรตำแหน่งให้เหมาะสมกับความรู้ความ สามารถ
ปูนบำเหน็จความชอบในบางโอกาส รู้จักส่งเสริมคนดี เปิดโอกาสให้คนดีเข้ามารับ
ราชการตามความสามารถ
(3) สัมมาปาสะ หมายถึง ฉลาดในการผูกสมานใจประชาชนด้วยการส่งเสริมอาชีพ
พระราชาหรือผู้ปกครองควรมีความฉลาดในการแก้ปัญหาสังคม รู้จักผูกสมาน
รวมใจของประชาชนรู้จักการสงเคราะห์โดยดำเนินการบริหารให้เป็นไปตามความ
ประสงค์ของราษฎรมีการส่งเสริมอาชีพด้วยวิธีการต่างๆ แก่ประชาชน
(4) วาชเปยยะ หมายถึง มีวาจาอันดูดดื่มใจ พระราชาหรือผู้ปกครองควรมีวาจา
ไพเราะอ่อนหวานชวนฟัง ประกอบด้วยเหตุผลมีประโยชน์ เป็นทางแห่งการสร้าง
ความสามัคคีปรองดองของประชาชนในรัฐ รู้จักใช้คำพูดให้เหมาะสมกับคนฟังตาม
วัย และรู้จักโน้มน้าวให้ทำความดียกย่องการทำความดี
ความเฉลียวฉลาดทั้ง 4 ประการนั้น ถือได้ว่าตัวแปรที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ผู้ปกครอง
จำเป็นต้องใช้เป็นหลักการในการบริหารจัดการรัฐให้สอดรับกับบริบทและความเป็นไปของรัฐ
อีกทั้งสอดรับกับกลุ่มอาชีพต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในรัฐ ถึงกระนั้น เมื่อวิเคราะห์โดยละเอียดจากทั้ง
4 องค์ประกอบดังกล่าว 3 ข้อแรกเป็นการเน้นให้ผู้ปกครองมีความฉลาดในการส่งเสริมความเป็น
อยู่ทางด้านร่างกายให้แก่ประชาชน จะเห็นว่า การจัดลำดับความสำคัญในประเด็น “เศรษฐกิจ”
จึงเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองต้องให้ความใส่ใจตามแนวทางนี้ ในขณะเดียวกัน ข้อที่ 4 จึงเป็น
กระบวนการในการสื่อสารทางการเมือง (Political Communication) ที่เน้นให้ผู้ส่งสาร (Sender)
ได้กำหนดแนวทางการให้การช่วยเหลือ การชี้แจ้ง การอธิบายด้วยท่าทีที่เป็นมิตร และอธิบายสาร
(Message) ผ่านช่องทางต่างๆ (Channels) ได้อย่างมีเหตุมีผล เพื่อให้ผู้รับสาร (Receiver)
ได้รับรู้ เข้าใจ และปฏิบัติร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เอกสารประกอบการอภิปราย